บทความสาระน่ารู้ ใครอยากมีบ้านต้องอ่าน! รวมข้อควรระวังที่คนอยากมีบ้านต้องรู้
บทความ
บทความสาระน่ารู้

ใครอยากมีบ้านต้องอ่าน! รวมข้อควรระวังที่คนอยากมีบ้านต้องรู้

8 มกราคม 2567

 


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังอยากมีบ้าน คุณต้องมีการวางแผนและศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อบ้านให้ถี่ถ้วน เนื่องจากการตัดสินใจซื้อบ้านหลังใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน ผู้ที่อยากมีบ้านจึงต้องเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินให้เหมาะสม เพราะในการซื้อบ้านมีทั้งค่าใช้จ่ายหลักและค่าใช้จ่ายแฝง ที่คุณอาจจะไม่คาดคิดมาก่อนก็สามารถเกิดขึ้นได้

สำหรับคนที่เกิดคำถามขึ้นในหัวมากมายเกี่ยวกับการซื้อบ้านหลังแรกว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร มีปัจจัยใดบ้างที่ควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน ในบทความนี้จะพาทุกคนมาดูข้อควรรู้ก่อนการซื้อบ้าน และการเตรียมตัวเรื่องค่าใช้จ่ายก่อนตัดสินใจอยากมีบ้านหลังแรก เพื่อให้การกู้สินเชื่อบ้านของคุณเป็นเรื่องง่าย
 

1. อยากมีบ้าน แต่ไม่มีเงินสำรอง

 


อยากมีบ้านใหม่ หลายคนคงจะไม่ซื้อบ้านโดยใช้เงินสดกันเท่าไหร่นัก แต่ก่อนที่เราจะขอสินเชื่อบ้าน เราจำเป็นต้องมีเงินสำรองไว้ใช้ในยามจำเป็น เนื่องจากเงื่อนไขสินเชื่อบ้านของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจึงควรเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินสำรองในการใช้จ่าย ไม่ควรตัดสินใจขอสินเชื่อบ้านโดยทันที เพราะไม่ว่าเราจะอยากมีบ้านขนาดไหนก็จำเป็นต้องมีเงินสำรองในการใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย

สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไปที่มีรายได้ประจำ ควรมีเงินเก็บสำรองประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพื่อที่จะได้มีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้ยามจำเป็น
 

2. อยากมีบ้าน แต่ไม่มีเงินดาวน์

 


สำหรับผู้ที่อยากมีบ้านหรือต้องการซื้อบ้าน จำเป็นต้องมีเงินดาวน์บ้านเป็นการสำรองเงินไว้ก่อน เพราะการกู้สินเชื่อบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท คุณสามารถใช้วิธีการผ่อนดาวน์บ้านสำหรับโครงการบ้านเดี่ยวที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างได้ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณต้องมีเงินดาวน์บ้านอยู่แล้วประมาณ 10%-30% สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโด ดังนั้นการที่คุณจะกู้เงินสร้างบ้าน คุณต้องมีเงินสำรองในการใช้จ่ายและเตรียมเงินดาวน์ให้พร้อมก่อนการวางแผนในการมีบ้านในอนาคต
 

3. อยากมีบ้าน แต่ไม่มีประวัติการเดินบัญชี

 


ผู้ที่อยากมีบ้าน แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการไม่มีประวัติการเดินบัญชี อย่างผู้ที่ทำงานอาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ที่มีรายได้แต่ละเดือนไม่แน่นอน จำเป็นที่จะต้องสร้างประวัติการเงินที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการขอสินเชื่อในการซื้อบ้าน

สำหรับคนที่มีรายได้ประจำหรือมีเงินเดือนฝากเข้าธนาคารประจำทุกเดือนจะหมดกังวลกับปัญหานี้ เนื่องจากบัญชีมีประวัติทางการเงินเป็นประจำ อีกทั้งผู้ที่มีการฝากเงินสะสมทรัพย์อยู่สม่ำเสมอมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับประวัติทางการเงิน เพราะการฝากเงินในส่วนนี้จะทำให้ประวัติทางการเงินของเรามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้นผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนหรือทำอาชีพอิสระแล้วอยากมีบ้านเป็นของตัวเองหรือสนใจซื้อบ้าน ควรสร้างประวัติการเงินให้ชัดเจนไว้ เพื่อให้สินเชื่อของเราได้รับการพิจารณาจากธนาคารมากขึ้น 
 

4. อยากมีบ้าน แต่ติดเครดิตบูโร

 


ผู้ที่อยากมีบ้าน แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการติดเครดิตบูโร จะทำให้คุณทำธุรกรรมทางการเงินหรือการขอสินเชื่อบ้านเป็นไปได้ยากมากขึ้น เนื่องจากการติดเครดิตบูโรจะทำให้ธนาคารทราบข้อมูลการเงินส่วนตัวของเราจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ที่ได้รวบรวมข้อมูลเครดิตของเราจากธนาคารต่าง ๆ เอาไว้ เช่น ประวัติการผ่อนชำระ ประวัติการชำระสินเชื่อ หรือประวัติการค้างชำระ เป็นต้น 

สำหรับผู้ที่อยากมีบ้านใหม่หรือกำลังเก็บเงินซื้อบ้าน ควรเช็กประวัติเครดิตของตัวเองก่อน เพราะหลายท่านอาจจะมีการติดเครดิตบูโรอยู่โดยไม่รู้ตัวก็ได้ ทั้งนี้ การตรวจสอบประวัติล่วงหน้าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถแก้ไขปัญหาก่อนที่เราจะขอสินเชื่อในการซื้อบ้านและวางแผนในการซื้อบ้านเป็นของตัวเอง
 

5. อยากมีบ้าน แต่ขอสินเชื่อบ่อยเกินไป

 


สำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อบ้าน หรือผู้ที่วางแผนซื้อบ้านหลังแรก คุณสามารถขอสินเชื่อจากธนาคารในราคาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ถ้าหากเราโดนปฏิเสธจากธนาคาร ด้วยการทำเรื่องเอกสารไม่ผ่าน หรือเรื่องการติดเครดิตบูโร ธนาคารจะนับการยื่นเรื่องเอกสารการขอสินเชื่อเหล่านี้เป็นคะแนน ดังนั้นเราจึงไม่ควรรีบร้อนในการไปขอสินเชื่อ 

แม้ว่าจะอยากมีบ้านขนาดไหน เราก็ควรวางแผนในการขอสินเชือบ้านให้ดี โดยทำการเว้นระยะในการขอสินเชื่อครั้งถัดไปอย่างต่ำ 3 เดือน เพื่อทำให้เราไม่โดนตัดคะแนนจากการขอสินเชื่อ และเพิ่มโอกาสในการได้รับสินเชื่อให้มากขึ้นอีกด้วย
 

6. อยากมีบ้าน แต่มีหนี้สินอยู่หลายทาง

 


ผู้ที่กำลังวางแผนจะซื้อบ้านและอยากมีอยากมีบ้านหลังใหม่ ควรเช็กเรื่องหนี้สินของตัวเองให้เรียบร้อยเสียก่อน เนื่องจากการมีหนี้อาจจะทำให้ความฝันในการมีบ้านของคุณเกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งหากเรามีการรูดชำระสินค้าจนมีวงเงินของบัตรเครดิตเต็มและไม่สามารถชำระได้ตามเวลาที่กำหนด อาจจะทำให้มีโอกาสสูงที่จะคุณจะโดนปฏิเสธการขอสินเชื่อธนาคาร เพราะธนาคารจะมองว่าเราไม่สามารถผ่อนชำระในส่วนนี้ได้

ดังนั้นแล้วถ้าคุณอยากมีบ้าน ก็ควรเคลียร์หนี้สินที่ค้างชำระให้ได้มากที่สุด เพราะยิ่งเราสามารถจัดการกับหนี้ได้มากเท่าไหร่ การอนุมัติการซื้อบ้านก็จะยิ่งเป็นไปได้มากขึ้นเท่านั้น
 

7. อยากมีบ้านต้องเช็กอัตราปล่อยกู้ของธนาคาร

 


ก่อนการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่อยากมีบ้าน เราควรคำนึงถึงอัตราปล่อยกู้ของธนาคารแต่ละธนาคารให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด หากคุณมองหาที่อยู่อาศัยเป็นที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด ส่วนมากแล้วธนาคารจะปล่อยกู้ในอัตราเริ่มต้นที่ 85% ของราคาประเมิน และการกู้จะมีระยะเวลาในการผ่อนชำระไม่เกิน 30 ปี ทั้งนี้ในบางธนาคารอาจจะมีข้อเสนอในการขอวงเงินเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีการซื้อประกันร่วมด้วย เราจึงควรศึกษาอัตราปล่อยกู้ธนาคารอย่างถี่ถ้วน เพื่อเป็นประโยชน์แก่คุณในอนาคต
 

8. อยากมีบ้านต้องตรวจสอบกำลังของตนเอง

 


ผู้ที่อยากมีบ้านและต้องการขอสินเชื่อเพื่อการผ่อนบ้าน ควรเช็กประเภทของสินเชื่อและตรวจสอบระยะเวลาในการกู้ให้ถี่ถ้วน เนื่องจากแต่ละธนาคารมีการคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากัน อีกทั้งยังมีการคำนวณความสามารถในการผ่อนบ้านไม่เท่ากัน ดังนั้นผู้ที่ต้องการกู้เงินซื้อบ้านควรวิเคราะห์กำลังในการผ่อนบ้านเบื้องต้นก่อนส่งต่อข้อมูลให้กับธนาคาร
 

9. อยากมีบ้านต้องวางแผนค่าใช้จ่าย

 

 

ค่าใช้จ่ายของธนาคาร


ค่าใช้จ่ายของธนาคารสำหรับการซื้อบ้าน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราต้องพิจารณาก่อนวางแผนอยากมีบ้าน เพราะการซื้อบ้านแต่ละครั้งอาจมีค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ประกันสินเชื่อบ้านสำหรับคุ้มครองกรณีผู้กู้สินเชื่อมีปัญหาในการผ่อนชำระบ้าน หรือเกิดเหตุไม่คาดคิดในการซื้อบ้านหลังแรก นอกจากนี้ยังมีค่าประเมินหลักทรัพย์ ค่าอากรแสตมป์ของวงเงินกู้ และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย ที่จะขึ้นอยู่กับมูลค่าของบ้านอีกด้วยที่ผู้ต้องการมีบ้านต้องวางแผนค่าใช้จ่าย
 

ค่าใช้จ่ายของกรมที่ดิน


ค่าใช้จ่ายของกรมที่ดินสำหรับการซื้อบ้าน มีรายละเอียดที่ผู้ต้องการซื้อบ้านหรือวางแผนอยากมีบ้านเป็นของตัวเองต้องคำนึงถึง ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการโอน : ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน คิดเป็น 2% ของเงินกู้ทั้งหมด หรือบางแห่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายในรูปแบบที่ต่างกันออกไป
  • ค่าจดจำนอง : ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านต้องจ่ายให้กับกรมที่ดิน คิดเป็น 1% ของเงินกู้ทั้งหมด สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท จะมีการเรียกเก็บเฉพาะผู้ที่ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินต่าง ๆ
  • ค่าอากรแสตมป์ : ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านต้องจ่ายให้กับสรรพากร ในอัตรา 0.05% ของราคาประเมินที่ดิน
     

ทั้งนี้ ในแต่ละสถาบันการเงินอาจจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป ผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลก่อนการดำเนินการ
 

อยากมีบ้านให้นึกถึง The Best Property


ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อควรรู้และคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนทางการเงินในการซื้อที่อยู่อาศัย หากคุณอยากมีบ้านหลังใหม่หรือกำลังวางแผนที่จะซื้อบ้านหลังแรก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ที่ The Best Property เป็นผู้นำด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และพร้อมบริการจัดสินเชื่อบ้านให้เหมาะสมกับคุณ ใครที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน และมองหาแหล่งขายบ้านมือสองสภาพดีให้นึกถึง The Best Property ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเราได้ที่