อัปเดตผังเมืองกรุงเทพ พื้นที่ไหนกลายเป็นทำเลทองบ้าง ล่าสุดปี 2566
จะลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ทั้งที ก็ควรจะซื้อที่ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับเรามากที่สุด ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ควรจะดูเรื่องผังเมืองกรุงเทพมหานครกันก่อนว่าที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นถูกสร้างอยู่บนพื้นที่ที่มีทำเลดีจริงหรือไม่
หากจุดประสงค์ของคุณคือการซื้อทำกำไร ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ของคุณก็ควรจะตั้งอยู่ในเขตผังเมืองกรุงเทพที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นแหล่งที่มีศักยภาพสูง สามารถสร้างกำไรให้คุณได้ง่ายกว่าการเลือกที่อยู่ในเขตผังเมืองกรุงเทพที่ทำเลไม่เหมาะสมนั่นเอง
ในบทความนี้เราจะมาบอกคุณว่าผังเมืองกทม.นั้นมีความสำคัญอย่างไร สีผังเมืองแต่ละพื้นที่มีประเภทไหนบ้าง แล้วสีผังเมืองสำคัญต่อการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างไร เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับสีผังเมืองอัปเดตล่าสุด บอกทุกรายละเอียดที่ควรรู้ ให้คุณเข้าใจสีผังเมืองอย่างลึกซึ้ง
หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่สนใจลงทุนอสังหา ข้อมูลทำเลทองจากการดูผังเมืองกรุงเทพมหานครล่าสุดพร้อมข้อมูลของสีผังเมืองแต่ละสีก็เป็นสาระน่ารู้เรื่องบ้านที่ไม่ควรพลาด!
ผังเมือง คืออะไร
ขอบคุณภาพจาก : https://asa.or.th/laws/news20191113/
ผังเมืองกรุงเทพมหานคร คือแผนผังที่ทางหน่วยงานภาครัฐอย่างสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานครเป็นผู้วางแผนและกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแต่ละเขตพื้นที่ภายในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การส่งเสริมเศรษฐกิจภายในกรุงเทพมหานครสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังมีประโยชน์อื่น ๆ ไม่ว่าจะในเรื่องความปลอดภัยในชีวิต การคมนาคมและสาธารณูปโภค ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพสูงสุด และทำให้พื้นที่กรุงเทพกลายเป็นเมืองที่น่าอยู่นั่นเอง
ทั้งนี้การกำหนดผังเมืองกรุงเทพมหานครนั้นจะมีเรื่องของกฎหมายผังเมืองอยู่ ซึ่งข้อกฎหมายนี้ทำให้เขตแต่ละเขตในผังเมืองกรุงเทพสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง สามารถปลูกสิ่งก่อสร้างรูปแบบไหน ความหนาแน่นเท่าไหร่บ้าง ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าทำเลที่ตั้งขึ้น ส่งผลให้ราคาพื้นที่ในแต่ละเขตแตกต่างกันไป
โดยการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างการกำหนดสีผังเมืองจะมีรายละเอียดอยู่แนบท้ายกฎหมายผังเมืองที่เป็นกฎกระทรวง ซึ่งสีผังเมืองจะแบ่งแต่ละเขตไปเป็นสีที่แตกต่างกันตามการใช้ประโยชน์ หากลองเปรียบเทียบสีผังเมืองของผังเมืองกรุงเทพกับสีผังเมืองในจังหวัดอื่น ๆ ก็จะพบว่าสีผังเมืองในผังเมืองกรุงเทพมีหลายสีกว่า เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ กันมากกว่านั่นเอง
ความสำคัญของผังเมืองกรุงเทพ
การวางแผนจัดตั้งผังเมืองกรุงเทพมหานครนั้นมีความสำคัญอย่างมาก และยังสามารถส่งผลกระทบต่อประชาชนอีกด้วย หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องห่างไกลตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณควรจะทราบถึงรายละเอียดของผังเมืองกรุงเทพ เพื่อให้สามารถเตรียมตัวและรับมือในสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
ความสำคัญของผังเมืองกรุงเทพที่มีผลต่อประชาชนอย่างแรกเลยก็คือทำเลพื้นที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ หากอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในที่ทำเลดี ทำเลทองก็จะทำให้มูลค่าของประเมินราคาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ถ้าคุณทราบแผนผังเมืองกรุงเทพและคาดการณ์โอกาสที่พื้นที่เขตใด ๆ จะกลายเป็นพื้นที่ศักยภาพสูงในอนาคต คุณก็อาจซื้ออสังหาริมทรัพย์และนำมาทำประโยชน์ได้นั่นเอง
ต่อมา ความสำคัญของผังเมืองกรุงเทพมหานครนั้นจะช่วยให้ประชาชนและสัดส่วนในของพื้นที่มีความสมดุลกันมากขึ้น เพื่อให้ทุกพื้นที่ในกรุงเทพสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด การวางแผนผังเมืองกรุงเทพก็จะช่วยให้สามารถจัดแจงการใช้ประโยชน์เขตต่าง ๆ ได้คุ้มค่า
ความสำคัญของผังเมืองกรุงเทพยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ สำหรับในด้านภาครัฐ ผังเมืองกรุงเทพมหานครจะทำให้สามารถวางแผนพัฒนาเขตในแต่ละเขตได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมายยิ่งกว่า และยังสัมพันธ์กับข้อกฎหมายอื่น ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมง่ายขึ้น
และสำหรับผู้รับเหมา เจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ ก็จะทำให้ทราบถึงขอบเขต ข้อบังคับต่าง ๆ ในการสร้างอสังหาริมทรัพย์ว่าสามารถทำในเขตพื้นที่นี้ได้หรือไม่ ทำได้เท่าไหน หากเป็นคอนโดหรืออาคารพาณิชย์สามารถสร้างได้กี่ชั้น และหากเป็นนายหน้าขายบ้านนั้นก็จะทำให้สามารถทราบถึงแนวโน้มของทำเลที่ตั้งว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน และจะนำเสนอขายแก้ลูกค้าอย่างไร
เมื่อเราทราบแล้วว่าผังเมืองมีความสำคัญอย่างไร สิ่งสำคัญต่อมาคือการรู้จักกับสีผังเมืองซึ่งจะช่วยให้เรามองหาทำเลที่ตั้งน่าลงทุนได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะทราบว่าตำแหน่งแห่งหนต่าง ๆ ในผังเมืองกรุงเทพสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และแต่ละเขตอยู่ในสีผังเมืองสีใด
โดยผังเมืองกรุงเทพจะถูกกำหนดให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 5 ปี ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจึงจะขออนุญาตยืดอายุการใช้งานผังเมืองกรุงเทพได้ 2 ปี โดยขอยืดอายุได้ครั้งละหนึ่งปีเท่านั้น ดังนั้นสีผังเมืองจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเมื่อมีการปรับผังเมืองกรุงเทพใหม่
เมื่อสีผังเมืองเปลี่ยน ก็จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน การสร้างรายได้ รวมไปถึงการพัฒนาเมืองในระยะยาวต่อไปอีกด้วย ดังนั้นนอกจากจะรู้จักว่าผังเมืองกรุงเทพสำคัญอย่างไรแล้ว จึงควรทำความเข้าใจสีผังเมืองแต่ละสีว่าบ่งบอกถึงอะไร เพื่อให้สามารถพิจารณาการใช้งานแต่ละเขตให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่เราต้องการได้
ทำความรู้จัก ความหมายของสีผังเมืองกรุงเทพ
ผังเมืองกรุงเทพมหานครถูกแบ่งประเภทที่ดินแต่ละรูปแบบที่มีจุดประสงค์ของการใช้งานต่างกันด้วยสีผังเมืองกรุงเทพที่แตกต่างกันถึง 9 สีหลัก และในแต่ละสีก็สามารถแบ่งย่อยด้วยรหัสกำกับเพื่อใช้บ่งบอกถึงข้อจำกัดและความสามารถในการใช้พื้นที่ ณ เขตนั้น ๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. สีผังเมืองกรุงเทพ สีเหลือง
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีเหลืองที่ปรากฏอยู่ในผังเมืองกรุงเทพนั้นจะเป็นที่ดินที่มีจุดประสงค์ในการเป็นที่อยู่อาศัยเป็นหลัก โดยระดับความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยในพื้นที่สีเหลืองในผังเมืองกรุงเทพจะมีความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยต่ำ และมักจะอยู่บริเวณชานเมือง
โดยภายในสีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีเหลืองยังมีแบ่งออกด้วยรหัสกำกับย่อยอีก คือ ย.1-ย.4 ซึ่งแต่ละรหัสก็ยังมีรายละเอียดของจุดประสงค์ย่อยต่างกันคือ
- สีผังเมืองสีเหลืองส่วนรหัส ย.1 (ตั้งแต่ย.1-1 ไปจนถึง ย.1-4)และ สีผังเมืองสีเหลืองส่วนรหัสย.3 (ตั้งแต่ย3-1 ไปจนถึง ย3-70 )คือพื้นที่สำหรับการส่งเสริมและดำรงสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการอยู่อาศัย
- สีผังเมืองสีเหลืองส่วนรหัส ย.2 (ตั้งแต่ย.2-1 ไปจนถึง ย.2-17)คือพื้นที่สำหรับการรองรับการขยายตัวของประชากรในย่านชานเมืองพร้อมสภาพแวดล้อมที่ดี
- สีผังเมืองสีเหลืองส่วนรหัส ย.4 (ตั้งแต่ย.4-1 ไปจนถึง ย.4-40)คือพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีอีกด้วย
ตามกฎหมายผังเมืองกรุงเทพแล้ว การสร้างอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่สีเหลืองนั้นจะมีข้อกำหนดอยู่ เช่น หากเป็นพื้นที่สีเหลืองรหัส ย.1 จะสามารถสร้างได้เฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว แต่หากเป็นพื้นที่สีเหลืองรหัส ย.2 สามารถสร้างที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮ้าส์ได้ และพื้นที่สีเหลืองรหัส ย.3 ก็สามารถสร้างอาคารชุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางได้ เป็นต้น
2. สีผังเมืองกรุงเทพ สีส้ม
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีส้มที่ปรากฏอยู่ในผังเมืองกรุงเทพจะเป็นที่ดินที่มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นระดับปานกลาง โดยบริเวณที่เป็นพื้นที่สีส้มนั้นจะเป็นพื้นที่ที่ติดกับเขตเมืองชั้นใน ทำให้เขตพื้นที่นี้มีจำนวนประชากรค่อนข้างหนาแน่น
พื้นที่สีส้มสามารถแบ่งย่อยได้อีกตามรหัสกำกับ ย.5-ย.7 โดยรหัสกำกับจะให้ความสำคัญของเขตพื้นที่ย่อยต่างกัน ดังนี้
- สีผังเมืองสีส้มส่วนรหัส ย.5 (ตั้งแต่ย.5-1 ไปจนถึง ย.5-37) คือพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับการรองรับการขยายตัวของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองชั้นในหรือเขตที่มีพื้นที่ต่อเนื่องกันกับเขตเมืองชั้นใน
- สีผังเมืองสีส้มส่วนรหัส ย.6 (ตั้งแต่ย.6-1 ไปจนถึง ย.6-48)คือพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับชุมชนชานเมือง เขตอุตสาหกรรมตลอดจนนิคมอุตสาหกรรม
- สีผังเมืองสีส้มส่วนรหัส ย.7 (ตั้งแต่ย.7-1 ไปจนถึง ย.7-30)คือพื้นที่ที่เป็นเขตต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นในและอยู่บนพื้นที่ที่มีระบบบริการขนส่งมวลชนซึ่งรองรับการอยู่อาศัยด้วย
ในเขตพื้นที่สีส้มผังเมืองกรุงเทพนั้นสามารถสร้างอสังหาริมทรัพย์ได้ทุกรูปแบบเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ความต้องการพักอาศัยในเขตพื้นที่ค่อนข้างสูง นั่นคือเป็นสีผังเมืองสำหรับประชากรหนาแน่นปานกลางค่อนไปทางสูงนั่นเอง
3. สีผังเมืองกรุงเทพ สีน้ำตาล
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีน้ำตาลที่ปรากฏอยู่ในผังเมืองกรุงเทพเป็นที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นระดับสูง พื้นที่ส่วนนี้มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจสูง และมักตั้งอยู่ในตัวเมือง
เช่นกันกับเขตพื้นที่สีเหลืองและสีส้ม ที่พื้นที่สีน้ำตาลก็ยังแบ่งย่อยตามรหัสกำกับ ย.8-ย.10 โดยแต่ละรหัสกำกับก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้
- สีผังเมืองสีน้ำตาลส่วนรหัส ย.8 (ตั้งแต่ย.8-1 ไปจนถึง ย.8-26) คือพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ รองรับที่พักอาศัยในเขตเมืองชั้นใน
- สีผังเมืองสีน้ำตาลส่วนรหัส ย.9 (ตั้งแต่ย.9-1 ไปจนถึง ย.9-30) คือพื้นที่ที่อยู่ในเขตให้บริการระบบขนส่งมวลชนและรองรับที่พักอาศัยในเขตเมืองชั้นใน
- สีผังเมืองสีน้ำตาลส่วนรหัส ย.10 (ตั้งแต่ย.10-1 ไปจนถึง ย.10-13) คือพื้นที่ที่เป็นช่วงรอยต่อกับพื้นที่พาณิชยกรรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางเมืองที่มีความครึกครื้นทางเศรษฐกิจสูงซึ่งต่อเนื่องกันกับที่พักอาศัยในเขตเมืองชั้นในนั่นเอง
บนพื้นที่สีน้ำตาลผังเมืองกรุงเทพนั้นสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้หลายรูปแบบ โดยที่อยู่อาศัยที่มักจะปลูกสร้างบนพื้นที่นี้มักจะเป็นอาคารชุด เนื่องจากสามารถให้มูลค่าซื้อขายสูง
4. สีผังเมืองกรุงเทพ สีน้ำตาลอ่อน
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีน้ำตาลอ่อนจะเป็นพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของประเทศชาติ ซึ่งเขตที่มีพื้นที่สีน้ำตาลอ่อนจะอยู่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ การใช้ประโยชน์พื้นที่สีน้ำตาลอ่อนมักจะเป็นการท่องเที่ยวและการพาณิชย์
ที่พื้นที่สีน้ำตาลอ่อนก็ยังแบ่งย่อยตามรหัสกำกับ ศ.1-ศ.2 โดยแต่ละรหัสกำกับก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้
- สีผังเมืองสีน้ำตาลอ่อนส่วนรหัส ศ.1 (ตั้งแต่ศ.1-1 ไปจนถึง ศ.1-6) คือพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติและส่งเสริมการท่องเที่ยวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก
- สีผังเมืองสีน้ำตาลอ่อนส่วนรหัส ศ.2 คือพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ ส่งเสริมกิจกรรมเชิงพาณิชย์ และการท่องเที่ยวในเขตอนุรักษ์
5. สีผังเมืองกรุงเทพ สีม่วง
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีม่วงในผังเมืองกรุงเทพเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมและโรงงาน โดยการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สีม่วงมักจะเป็นการดำเนินกิจกรรมในการผลิต ซึ่งพื้นที่สีม่วงนี้ตามกฎหมายยังสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้บ้าง เช่น บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียมขนาดเล็ก ร้านค้า แต่ไม่สามารถสร้างอาคารชุดขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งการสร้างอสังหาริมทรัพย์สำหรับการอยู่อาศัยบนพื้นที่สีม่วงนั้นยังมีข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นที่อยู่อาศัยและโรงงานจะต้องห่างกันเพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม
โดยสีผังเมืองสีนี้ยังมีอีกชื่อว่าเป็นสีม่วงเม็ดมะปรางอีกด้วย ที่พื้นที่สีม่วงนี้ก็ยังมี 1 รหัสกำกับคือ อ.6 โดยรหัสกำกับมีความหมายดังนี้
- สีผังเมืองสีม่วงส่วนรหัส อ.6 คือพื้นที่สำหรับคลังสินค้าเพื่อการขนส่งทั่วภูมิภาคอาเซียน
6. สีผังเมืองกรุงเทพ สีน้ำเงิน
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีน้ำเงินในผังเมืองกรุงเทพเป็นที่ดินที่เป็นของรัฐ ซึ่งมักจะใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการประกอบกิจกรรมของรัฐหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ บนพื้นที่นี้มักจะมีสิ่งปลูกสร้างที่เกี่ยวข้องกับราชการหรือพื้นที่สาธารณะ เช่น สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด เป็นต้น
ที่พื้นที่สีน้ำเงินนี้ก็ยังมี 1 รหัสกำกับคือ ส. โดยรหัสกำกับมีความหมายดังนี้
- สีผังเมืองสีน้ำเงินส่วนรหัส ส. (ตั้งแต่ส.-1 ไปจนถึง ส.-74) คือพื้นที่สำหรับกิจกรรมภาครัฐที่เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ รวมไปถึงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการด้วย
7. สีผังเมืองกรุงเทพ สีแดง
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีแดงในผังเมืองกรุงเทพเป็นที่ดินที่มีจุดประสงค์ในด้านพาณิชย์โดยเฉพาะ ซึ่งเขตพื้นที่สีแดงนี้จะมีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจสูง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่บนพื้นที่สีแดงนี้จะเป็นอาคารธุรกิจ ห้างร้านค้า ทั้งนี้ใช้เป็นจุดกระจายสินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการท่องเที่ยวอีกด้วย
ที่พื้นที่สีแดงก็ยังแบ่งย่อยตามรหัสกำกับ พ.1-พ.5 โดยแต่ละรหัสกำกับก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้
- สีผังเมืองสีแดงส่วนรหัส พ.1 (ตั้งแต่พ.1-1 ไปจนถึง พ.1-21) คือพื้นที่ที่เป็นศูนย์พาณิชย์ของชุมชน ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสินค้าและบริการในบริเวณชานเมือง
- สีผังเมืองสีแดงส่วนรหัส พ.2 (ตั้งแต่พ.2-1 ไปจนถึง พ.2-5) คือพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจของทั้งการค้าขายสินค้าและการให้บริการ ตลอดจนนันทนาการ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพย่านชานเมือง
- สีผังเมืองสีแดงส่วนรหัส พ.3 (ตั้งแต่พ.3-1 ไปจนถึง พ.3-43) คือพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจของทั้งการค้าขายสินค้าและการให้บริการ ตลอดจนนันทนาการ สำหรับประชาชนทั่วไป
- สีผังเมืองสีแดงส่วนรหัส พ.4 (ตั้งแต่พ.4-1 ไปจนถึง พ.4-3) คือพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจของทั้งการค้าขายสินค้าและการให้บริการ ตลอดจนนันทนาการ บริเวณใกล้เคียงระบบขนส่ง
- สีผังเมืองสีแดงส่วนรหัส พ.5 (ตั้งแต่พ.5-1 ไปจนถึง พ.5-7) คือพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจของทั้งการค้าขายสินค้าและการให้บริการ ตลอดจนนันทนาการ ในระดับอาเซียน
8. สีผังเมืองกรุงเทพ สีเขียว
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียวในผังเมืองกรุงเทพเป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมที่มีจุดประสงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งเกษตรกรรม รวมไปถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
ที่พื้นที่สีเขียวก็ยังแบ่งย่อยตามรหัสกำกับ ก.4-ก.5 โดยแต่ละรหัสกำกับก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้
- สีผังเมืองสีเขียวส่วนรหัส ก.4 (ตั้งแต่ก.4-1 ไปจนถึง ก.4-38) คือพื้นที่ที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและส่งเสริมเกษตรทางด้านเศรษฐกิจ
- สีผังเมืองสีเขียวส่วนรหัส ก.5 (ตั้งแต่ก.5-1 ไปจนถึง ก.5-13) คือพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางสังคม และส่งเสริมเศรษฐกิจและเกษตรกรรมสำหรับชุมชนแถบชนบท
นอกจากนี้พื้นที่สีเขียวยังใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหากเกิดอุทกภัยในกรุงเทพอีกด้วย
9. สีผังเมืองกรุงเทพ สีขาวทแยงเขียว
สีผังเมืองส่วนที่เป็นพื้นที่สีขาวทแยงเขียวในผังเมืองกรุงเทพคือพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม มีจุดประสงค์ในการใช้พื้นที่เช่นเดียวกับพื้นที่สีเขียวคือการอนุรักษ์พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม
ที่พื้นที่สีขาวทแยงเขียวก็ยังแบ่งย่อยตามรหัสกำกับ ก.1-ก.3 โดยแต่ละรหัสกำกับก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้
- สีผังเมืองสีขาวทแยงเขียวส่วนรหัส ก.1 (ตั้งแต่ก.1-1 ไปจนถึง พ.1-16) คือพื้นที่ที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรมและแถบชนบท บริเวณเสี่ยงอุทกภัยหรือมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำ
- สีผังเมืองสีขาวทแยงเขียวส่วนรหัส ก.2 (ตั้งแต่ก.2-1 ไปจนถึง พ.2-13)คือพื้นที่ที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรมและแถบชนบท
- สีผังเมืองสีขาวทแยงเขียวส่วนรหัส ก.3 (ตั้งแต่ก.3-1 ไปจนถึง พ.3-2) คือพื้นที่ที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่เกษตรกรรมและแถบชนบท โดยส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งน้ำเค็มและน้ำกร่อย
อัปเดตพื้นที่ทำเลทองในผังเมืองกรุงเทพ
หากเราทราบว่าการวางผังเมืองกรุงเทพพื้นที่ไหนมีวัตถุประสงค์อะไรตามสีผังเมืองที่ระบุไว้ว่าสามารถทำอะไรบนที่ดินในพื้นที่นั้น ๆ ได้บ้างก็จะทำให้เราทราบว่าพื้นที่ตรงนั้น ๆ เป็นพื้นที่ทำเลดีหรือไม่ หรือพื้นที่นั้นมีโอกาสกลายเป็นที่ดินทำเลทองในอนาคตหรือไม่
พื้นที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS MRT
การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่เร็วและสะดวกสำหรับคนกรุงเทพที่สุดคือรถไฟฟ้า เพราะรถไฟฟ้าสำหรับกรุงเทพเป็นจุดเชื่อมต่อของพื้นที่เขตต่าง ๆ ที่มีศักยภาพสูง เมื่อรถไฟฟ้าผ่านพื้นที่ไหน พื้นที่นั้นมักจะกลายเป็นที่ทำเลทอง ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่มีรถไฟฟ้าผ่านก็สูงขึ้นตาม การเลือกดูจากสีผังเมืองที่เชื่อมกับระบบขนส่งจึงมีบทบาทสำคัญตรงจุดนี้
พื้นที่ฝั่งธนบุรี
สำหรับผังเมืองกรุงเทพพื้นที่ฝั่งธนบุรีที่แต่เดิมมีพื้นที่สีเขียวตามสีผังเมืองในผังเมืองกรุงเทพฉบับเดิมแต่ในผังเมืองกรุงเทพฉบับล่าสุดพื้นที่สีเขียวถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่สีเหลืองซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย และพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยเดิมก็จะขยับจากพื้นที่ที่มีความหนาแน่นน้อยไปมากตามลำดับ ซึ่งพื้นที่ฝั่งธนบุรีนั้นถูกปรับให้เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวจากพื้นที่สีแดงของนนทบุรี ทำให้มีโอกาสกลายเป็นพื้นที่ทำเลทองในอนาคต
พื้นที่ตลิ่งชัน
พื้นที่ตลิ่งชันก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการวางผังเมืองกรุงเทพใหม่ จึงมีการเปลี่ยนสีผังเมืองไปเพื่อรองรับการเข้ามาของรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน) และรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน) และในอนาคตมีแผนจะพัฒนาเขตตลิ่งชันให้กลายเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่อีกด้วย
พื้นที่พระราม 9
การปรับผังเมืองกรุงเทพของพื้นที่พระราม 9 นั้นจะมีการเปลี่ยนจากสีผังเมืองพื้นที่สีน้ำตาลซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยหนาแน่นอยู่แล้วให้กลายเป็นสีผังเมืองพื้นที่สีแดงซึ่งเป็นพื้นที่ย่านธุรกิจ ทำให้พื้นที่ย่านพระราม 9 นี้ยิ่งกลายเป็นพื้นที่ทำเลทองสุด ๆ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการเปลี่ยนสีผังเมืองที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของย่านรวมไปถึงโอกาสทางเศรษฐกิจในอนาคต
พื้นที่วิภาวดีรังสิต
ย่านพื้นที่วิภาวดีรังสิตแต่เดิมนั้นเป็นพื้นที่สีเหลืองตามสีผังเมืองในผังเมืองกรุงเทพฉบับเดิมเมื่อผังเมืองกรุงเทพใหม่ก็ได้เปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่สีส้ม ซึ่งทำให้สามารถรองรับประชากรได้มากขึ้น สามารถสร้างบ้านที่อยู่อาศัยได้หลายประเภทมากขึ้น การเปลี่ยนสีผังเมืองบริเวณนี้จึงช่วยเรื่องการเติบโตของย่านและจำนวนประชากรได้เป็นอย่างดี
พื้นที่พหลโยธิน
การที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวเพิ่มส่วนขยายมาถึงย่านพื้นที่พหลโยธิน ลาดพร้าว จตุจักร ที่แต่เดิมสีผังเมืองเป็นพื้นที่สีส้มที่มีประชากรอาศัยหนาแน่นปานกลาง เมื่อปรับผังเมืองกรุงเทพล่าสุดทำให้สีผังเมืองของพื้นที่เขตนี้กลายเป็นพื้นที่สีน้ำตาล เพื่อรองรับประชากรที่ไหลเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมให้กิจการร้านค้าเติบโตขึ้นอีกด้วย
พื้นที่พหลโยธินจึงเป็นอีกย่านที่การเปลี่ยนสีผังเมืองเข้ามามีบทบาทสำคัญทำให้เกิดการเติบโตทั้งทางเศรษฐกิจและด้านจำนวนประชากร
พื้นที่มีนบุรี
เขตมีนบุรีนั้นเป็นเขตที่มีพื้นที่สีขาวทแยงเขียวตามสีผังเมืองในผังเมืองเดิมซึ่งเป็นเขตเพื่อใช้สำหรับอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม แต่ผังเมืองกรุงเทพที่ปรับใหม่นั้นได้ยกพื้นที่มีนบุรีให้กลายเป็นเขตที่อยู่อาศัย จึงเรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนสีผังเมืองไปอย่างสิ้นเชิง ภาพการใช้งานของพื้นที่มีนบุรีจึงได้มีการพลิกรูปแบบไป ซึ่งในอนาคตคาดว่าพื้นที่มีนบุรีจะคึกคักและมีศักยภาพ นับเป็นหนึ่งในพื้นที่ทำเลดีที่น่าลงทุนเพื่ออนาคต
พื้นที่หนองจอก
พื้นที่เขตหนองจอกมีการปรับผังเมืองกรุงเทพจากสีผังเมืองเดิมที่เป็นพื้นที่สีเขียวที่เป็นที่ดินชนบทและเกษตรกรรม ให้มีพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยมากขึ้น และเพื่อเป็นการพัฒนาชุมชนแถบชานเมืองให้เจริญขึ้น สำหรับบริษัทอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ที่อยากได้พื้นที่ทำเลดีในอนาคตในราคาถูก พื้นที่หนองจอกก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนสีผังเมืองแล้วทำให้สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตได้ไม่ยาก
พื้นที่ลาดกระบัง
พื้นที่เขตลาดกระบังที่แต่เดิมเป็นพื้นที่สีเขียวตามสีผังเมืองในผังเมืองกรุงเทพฉบับก่อน แต่หลังการปรับผังเมืองกรุงเทพใหม่ก็กลายเป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยมากขึ้น อีกทั้งพื้นที่ลาดกระบังยังมีพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม เมื่อมีพื้นที่สำหรับอาศัยมากขึ้นก็จะยิ่งทำให้เขตลาดกระบังเป็นเขตน่าอยู่มากขึ้น และการปรับสีผังเมืองนี้ก็ทำให้เขตลาดกระบังพร้อมเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มของจำนวนประชากรอีกด้วย
พื้นที่คลองสามวา
เขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีพื้นที่ติดกับเขตสายไหมที่เป็นพื้นที่สีเหลืองสำหรับอยู่อาศัย ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มถึงการขยายตัวของเขตเมืองชั้นในและให้พื้นที่ชั้นนอกเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัว จึงทำให้พื้นที่คลองสามวายังเป็นพื้นที่ที่น่าจับตามอง
The Best Property แหล่งรวมบ้านและคอนโด ทำเลทอง
ผังเมืองกรุงเทพนั้นมีความสำคัญในทุก ๆ ด้านกับทุก ๆ คนที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากทำให้สามารถเลือกใช้ประโยชน์จากที่ดินในเขตนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และผังเมืองกรุงเทพยังสามารถทำให้คาดคะเนถึงแนวโน้มที่พื้นที่ใดจะกลายเป็นพื้นที่ทำเลทองในอนาคตได้อีกด้วย
หากคุณเป็นผู้ที่อยากจะลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หาบ้านเดี่ยวกรุงเทพหรือคอนโดกรุงเทพและที่ดินทำเลทองที่ผ่านการพิจารณาแนวโน้มประกอบกับสีผังเมืองแล้ว The Best Property เราเป็นผู้นำด้านการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท เรามีบ้านและคอนโดทำเลดี ทำเลทองให้เลือกมากมาย สนใจติดต่อเราได้ที่
- Line: @thebestproperty
- Website: https://tb.co.th/
- Tel: 02-047-4282