บทความสาระน่ารู้ รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีเชื่อมต่อชานเมืองเข้าสู่กลางเมือง
บทความ
บทความสาระน่ารู้

รถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีเชื่อมต่อชานเมืองเข้าสู่กลางเมือง

7 กันยายน 2566

 


การเดินทางด้วยระบบขนส่งรถไฟเป็นวิธีเดินทางที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตเนื่องจากมีระยะทางเดินทางไกลแต่ใช้เวลาในการเดินทางน้อย ในกลางเมืองเรามักจะเห็นรถไฟสายสีต่าง ๆ คอยเชื่อมต่อสถานที่และผู้คนให้สามารถพบเจอกันง่ายกว่าเดิม

สำหรับย่านชานเมืองกรุงเทพฯ เองก็มีระบบรถไฟดีเซลที่ดำเนินการโดยรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. แต่ด้วยความล้าสมัยประกอบกับความล่าช้าในการให้บริการ ทางรฟท. จึงได้เริ่มโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเพื่อเพิ่มศักยภาพสำหรับการเดินทางในย่านชานเมืองกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการรถไฟฟ้าทางไกล รถไฟฟ้าความเร็วสูงในอนาคตอีกด้วย

ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าสายชานเมืองที่เชื่อมคนกรุงเทพฯ ให้ใกล้กันมากขึ้น 

รถไฟฟ้าสายสีแดง คืออะไร 

 

                                                                              ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.srtet.co.th/th/page/38 

รถไฟฟ้าสายสีแดงคือโครงการรถไฟฟ้าหนึ่งของประเทศไทยที่ดำเนินการโดยรฟท. โดยมีจุดประสงค์คือการนำรถไฟฟ้าเข้ามาทดแทนการใช้รถไฟระบบดีเซลซึ่งเป็นระบบเก่าที่มักจะมีปัญหาเรื่องความล่าช้าและรอบการเดินทางที่น้อยเกินไป รถไฟฟ้าสายสีแดงจะเข้ามามีบทบาทในฐานะขนส่งระบบรางในย่านชานเมืองเพื่อให้ผู้คนที่อาศัยในย่านนี้สามารถเดินทางเข้าตัวเมืองได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่วางแผนไว้หลายเฟส ในปัจจุบันได้สร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการไปแล้ว 2 เฟสคือเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มทั้งหมด 10 สถานีและรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนทั้งหมด 4 สถานีในปี 2564 และยังมีแผนเพิ่มสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อนอีกในอนาคต เมื่อทุกสถานีเปิดให้บริการครบจะทำให้การปรับผังเมืองกรุงเทพที่หวังจะขยายพื้นที่รองรับการเติบโตจากเมืองชั้นในสู่ชานเมืองนั้นมีศักยภาพมากขึ้น

จุดเด่นของรถไฟฟ้าสายสีแดง 


รถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นรถไฟฟ้าย่านชานเมืองที่เชื่อมผู้คนย่านชานเมืองให้เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองได้สะดวกขึ้น โดยเส้นการเดินรถไฟสายสีแดงเข้มจะเชื่อมต่อชานเมืองกรุงเทพเหนือไปสู่ชานเมืองกรุงเทพใต้ และเส้นทางการเดินรถไฟสายสีแดงอ่อนจะเชื่อมต่อชานเมืองกรุงเทพตะวันออกไปสู่ชานเมืองกรุงเทพตะวันตก

ทั้งรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มและรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนมีสถานีรถไฟกลางอย่างสถานีกลางบางซื่อ (ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์) เป็นสถานีศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่ยังเป็นศูนย์กลางระบบรางจากกรุงเทพไปสู่ภาคเหนือ ใต้ และตะวันออกอีกด้วย

นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายสีแดงยังมีจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าอื่น ๆ และสถานที่สำคัญมากมายจึงเป็นประโยชน์แก่ผู้คนที่อาศัยในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้อย่างมาก

ในอนาคตรถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจนไปถึงสถานีบ้างภาชีจังหวัดอยุธยา-สถานีปากท่อจังหวัดราชบุรีสำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม และส่วนต่อขยายไปจนถึงช่วงนครปฐมจนถึงฉะเชิงเทรา-ศรีราชาสำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ทำให้การเดินทางระหว่างจังหวัดใกล้เคียงเข้าออกสู่กรุงเทพสามารถทำได้ง่ายขึ้นมาก

โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง มีเส้นทางไหนบ้าง

 

                                                                                  ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.srtet.co.th/th

รถไฟฟ้าสายสีแดงในปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็นสองเส้นทางหลักโดยยึดตามทิศทางการเดินรถไฟฟ้า ดังนี้

รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม


รถไฟฟ้าชานเมืองสายธานีรัถยา หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม โดยมีเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าหลักในแนวทิศเหนือ-ใต้ เชื่อมต่อชานเมืองกรุงเทพเหนือ (ดอนเมือง รังสิต) ผ่านใจกลางกรุงเทพและลงสู่ชานเมืองกรุงเทพใต้ (บางบอน บางขุนเทียน) 

โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มนั้นมีแผนขยายเส้นทางสุดที่สถานีบ้านภาชี จังหวัดอยุธยาในทางทิศเหนือและสถานีปากท่อ จังหวัดราชบุรีในทางทิศใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้น 185 กิโลเมตรเพื่อให้ผู้คนสามารถเดินทางไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้สะดวกและเป็นการกระจายพื้นที่อยู่อาศัยไปยังพื้นที่รอบนอกเขตกรุงเทพมากขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในแผนการขยายผังเมือง ลดความหนาแน่นของจำนวนประชากรเมือง 

พื้นที่ตามเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มจะได้รับผลประโยชน์มหาศาล โดยรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ผ่านย่านดอนเมือง รังสิต ซึ่งเป็นย่านที่มีสถานที่สำคัญอย่างมหาวิทยาลัยรังสิต สนามบินดอนเมือง อีกทั้งยังมีหมู่บ้านจัดสรร, คอนโดกรุงเทพ และชุมชนในพื้นที่นี้มากมายทำให้มีผู้คนพักอาศัยในย่านนี้มาก เมื่อมีรถไฟฟ้าสายสีแดงก็จะพาให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่ตัวเมืองง่ายขึ้น

รถไฟฟ้าสายสีแดงในปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 10 สถานีโดยเริ่มจากสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ), สถานีจตุจักร, สถานีวัดเสมียนนารี, สถานีบางเขน, สถานีทุ่งสองห้อง, สถานีหลักสี่, สถานีการเคหะ, สถานีดอนเมือง, สถานีหลักหก และสถานีรังสิตเป็นสถานีปลายทางในเฟสแรก

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน


รถไฟฟ้าชานเมืองสายนครวิถี หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน มีเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก เชื่อมต่อชานเมืองกรุงเทพตะวันตก (ตลิ่งชัน) ผ่านใจกลางกรุงเทพและไปยังชานเมืองกรุงเทพตะวันออก (ลาดกระบัง) โดยเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนเกิดจากการรวมเส้นทางระหว่างรถไฟชานเมืองสายตะวันตก (หัวลำโพง-นครปฐม) และรถไฟชานเมืองสายตะวันออก (หัวลำโพง-ชุมทางฉะเชิงเทรา) 

รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนสามารถสนับสนุนการเดินทางจากชานเมืองทั้งทิศตะวันตกและทิศตะวันออกให้เข้าสู่ตัวเมืองได้ง่ายในเวลาที่รวดเร็ว และเป็นการกระจายพื้นที่อยู่อาศัยให้อยู่พื้นที่รอบนอกมากขึ้น

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนนั้นจะมีทั้งหมด 38 สถานีจากพระราชวังสนามจันทร์-กรุงเทพอภิวัฒน์-แปดริ้ว เป็นระยะทางกว่า 117.5 กิโลเมตรสำหรับสายหลักและ 12.5 กิโลเมตรสำหรับสายย่อย แต่ในปัจจุบัน (ปี 2566) เปิดให้บริการแล้วเพียง 4 สถานีเท่านั้น โดยเริ่มจากสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ), สถานีบางซ่อน, สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน สำหรับสถานีช่วงอื่น ๆ ได้แก่ ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา, ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช, ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ยังอยู่ในกระบวนการทบทวนการก่อสร้าง และช่วงอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นเพียงแผนงานเท่านั้น

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง ราคาเท่าไหร่


ค่าโดยสารของระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงจะมีอัตราค่าโดยสารอยู่ในช่วง 12-42 บาท โดยการคิดราคาจะขึ้นอยู่กับระยะทาง ซึ่งแต่ละสถานีจะมีระยะห่างที่แตกต่างกัน แต่สามารถคำนวณค่าโดยสารได้เฉลี่ยกิโลเมตรละประมาณ 1.5 บาทเท่านั้น 

หากคุณเป็นผู้ที่ต้องใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นประจำก็สามารถซื้อบัตรโดยสารแบบรายเดือน ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าการซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียว ณ ปัจจุบันราคาบัตรโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงแบบรายเดือนจะมีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • บัตรโดยสารรายเดือนแบบ 20 เที่ยว ราคา 700 บาท (เฉลี่ยเหลือเที่ยวละ 35 บาท)
  • บัตรโดยสารรายเดือนแบบ 30 เที่ยว ราคา 900 บาท (เฉลี่ยเหลือเที่ยวละ 30 บาท)
  • บัตรโดยสารรายเดือนแบบ 50 เที่ยว ราคา 1,250 บาท (เฉลี่ยเหลือเที่ยวละ 25 บาท)
     

สำหรับนักเรียน-นักศึกษาจะได้ส่วนลดค่าเดินทาง 10% สำหรับผู้สูงอายุจะได้ส่วนลดค่าเดินทาง 50% และสำหรับผู้พิการสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตลอดเส้นทาง

ตารางเวลาและความถี่ การเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง 

 


การเดินรถของระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงจะให้บริการตั้งแต่ช่วงเวลา 05:30-24.00 ของทุกวัน โดยตารางเวลาและความถี่ในการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงแต่ละสายจะแตกต่างกัน ดังนี้

ตารางเวลาในการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง
 

  • รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
    • สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) 
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.30 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 24.00
         
    • สถานีจตุจักร
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.33 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.03
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.50 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.20
         
    • สถานีวัดเสมียนนารี
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.35 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.05
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.47 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.17
         
    • สถานีบางเขน
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.37 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.07
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.46 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.16
         
    • สถานีทุ่งสองห้อง
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.39 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.09
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.44 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.14
         
    • สถานีหลักสี่
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.42 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.12
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.41 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.11
         
    • สถานีการเคหะ
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.44 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.14
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.39 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.09
         
    • สถานีดอนเมือง
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.46 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.16
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.37 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.07
         
    • สถานีหลักหก
      • ขบวนแรกไปรังสิต : 05.50 น. และขบวนสุดท้ายไปรังสิต : 00.20
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.32 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.02
         
    • สถานีรังสิต
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.30 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 24.00
         
  • รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
    • สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) 
      • ขบวนแรกไปตลิ่งชัน : 05.30 น. และขบวนสุดท้ายไปตลิ่งชัน : 24.00
         
    • สถานีบางซ่อน
      • ขบวนแรกไปตลิ่งชัน : 05.33 น. และขบวนสุดท้ายไปตลิ่งชัน : 00.03
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.41 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.11
         
    • สถานีบางบำหรุ
      • ขบวนแรกไปตลิ่งชัน : 05.40 น. และขบวนสุดท้ายไปตลิ่งชัน : 00.10
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.34 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 00.04
         
    • สถานีตลิ่งชัน
      • ขบวนแรกไปบางซื่อ : 05.30 น. และขบวนสุดท้ายไปบางซื่อ : 24.00
         

ความถี่ในการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง
 

  • สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มในช่วงเวลาเร่งด่วน (07:00-09:30 และ 17.00-19.30) จะใช้ความถี่รอบละ 12 นาที และนอกช่วงเวลาเร่งด่วนจะใช้ความถี่รอบละ 20 นาที
  • สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนจะใช้ความถี่รอบละ 20 นาทีตลอดระยะเวลาให้บริการ
     

รวมทำเลดีแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง มีสถานีอะไรบ้าง


ไม่ว่าจะเป็นชานเมืองกรุงเทพเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตกก็มีสถานที่สำคัญมากมายและเป็นอีกแหล่งที่อยู่อาศัย แต่เนื่องจากการเดินทางที่ยากลำบากทำให้พื้นที่ทำเลนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่ากับในเมือง แต่เมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง หรือรถไฟฟ้าชานเมืองเข้ามาให้ชานเมืองกรุงเทพสามารถเข้าถึงกลางเมืองกรุงเทพได้ง่ายขึ้น ทำให้พื้นที่ทำเลในย่านนี้จึงเริ่มเป็นที่จับตามองเป็นอย่างมาก ในหัวข้อนี้เราจะพาคุณไปดูว่าแต่ละสถานีของรถไฟฟ้าสายสีแดงมีทำเลไหนที่น่าสนใจบ้าง

  • รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต)
    • สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) : ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อการเดินทางรถไฟทางไกล รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน รวมถึงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินที่สามารถพาคุณเข้าสู่กลางตัวเมืองได้ทันที
    • สถานีจตุจักร : เชื่อมต่อถนนกำแพงเพชร 2, ถนนรัชดาภิเษก อยู่ใกล้กับปตท. สำนักงานใหญ่
    • สถานีวัดเสมียนนารี : เชื่อมต่อถนนรัชดาภิเษก อยู่ใกล้กับสถานที่มากมาย เช่น เซ็นทรัลลาดพร้าว, เมเจอร์รัชโยธิน, ตึกช้าง เป็นต้น
    • สถานีบางเขน : ใกล้กับถนนงามวงศ์วาน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน, ศูนย์ราชการนนทบุรี, ห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์, สถาบันทรวงอก อีกทั้งยังเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี) สถานีในอนาคตอีกด้วย
    • สถานีทุ่งสองห้อง : ใกล้กับโรงงานยาคูลท์, สโมสรตำรวจ, สำนักข่าวพีบีเอสและชุมชนย่านทุ่งสองห้อง
    • สถานีหลักสี่ : จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี), ถนนแจ้งวัฒนะ, ถนนรามอินทรา, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, เซ็นทรัลรามอินทรา 
    • สถานีการเคหะ : ใกล้กับเคหะทุ่งสองห้อง ชุมชนย่านดอนเมือง ร้านเจ๊เล้ง
    • สถานีดอนเมือง : เชื่อมต่อท่าอากาศยานดอนเมือง
    • สถานีหลักหก : ใกล้กับชุมชนย่านเมืองเอก, มหาวิทยาลัยรังสิต, แยกคปอ., ดรีมเวิลด์ 
    • สถานีรังสิต : ใกล้กับฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, ลำลูกกา มุ่งสู่ปทุมธานี
       
  • รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน)
    • สถานีบางซ่อน : ใกล้กับแยกประชานุกูล, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์, ตลาดวงศ์สว่าง
    • สถานีบางบำหรุ : ใกล้กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, สะพานกรุงธน, แยกซังฮี้
    • สถานีตลิ่งชัน : ใกล้กับขนส่งสายใต้ใหม่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ไปรษณีย์ตลิ่งชัน
       

รถไฟฟ้าสายสีแดง ทำเลแห่งการเดินทางสะดวกสบาย

 


พื้นที่ชานเมืองเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองใจกลางกรุงเทพและใกล้กับเขตปริมณฑล แต่เดิมในย่านชานเมืองจะเป็นย่านที่มีความหนาแน่นของประชากรค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในกรุงเทพ แต่เนื่องจากการขยายตัวของใจกลางเมือง มีผู้คนไหลเข้ามาอาศัยและประกอบอาชีพมากขึ้น อีกทั้งความเจริญขึ้นในยุคปัจจุบัน ทำให้กลางเมืองกลางเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจมากขึ้นและมีที่อยู่อาศัยน้อยลง 

ดังนั้นการขยายตัวนี้จึงทำให้พื้นที่อยู่อาศัยถูกขยับขยายออกสู่นอกตัวเมืองมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเพราะการเดินทางที่ลำบากทำให้พื้นที่ย่านชานเมืองยังไม่เป็นที่ต้องการมากนัก

เมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายชานเมืองที่จะพาผู้คนเข้าออกสู่ตัวเมืองได้ง่ายและสะดวกขึ้นทำให้พื้นที่รอบ ๆ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงกลายเป็นพื้นที่ทำเลดี เหมาะสมต่อการตั้งรกถิ่นฐานขึ้น และเป็นการเพิ่มอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของพื้นที่โดยรอบอีกด้วย

นอกจากรถไฟฟ้าสายสีแดงจะพาให้พื้นที่โดยรอบเติบโตขึ้นแล้วยังมีการเชื่อมต่อกับขนส่งระบบรางและขนส่งระบบอื่น ๆ เพื่อให้การเดินทางไปยังพื้นที่อื่นสะดวกมากขึ้น

รถไฟฟ้าสายสีแดง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT


รถไฟฟ้าสายสีแดงสายชานเมืองนี้มีจุดประสงค์เพื่อทดแทนระบบรถไฟดีเซลที่มีความล่าช้าในการให้บริการอีกทั้งยังเพื่อให้การเดินทางระหว่างใจกลางกรุงเทพ-ชานเมืองสะดวกเพิ่มขึ้น และเพื่อให้การเดินทางเข้ากลางเมืองทำได้ง่ายกว่านั้นจึงมีการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายในเมืองอย่างรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ที่มีสถานีภายในตัวเมืองหลายจุดนั่นเอง

รถไฟฟ้าสายสีแดง ขยายไปถึงโซนชานเมือง


การเดินทางข้ามเขตชานเมืองไปอีกฝั่งของชานเมืองกรุงเทพนั้นจะต้องผ่านใจกลางเมืองกรุงเทพซึ่งการจราจรช่วงกลางเมืองนั้นมีความแออัดสูง เมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงพาดผ่านทำให้การเดินทางไปยังชานเมืองอีกฝั่งทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก

นอกจากนี้การที่รถไฟฟ้าสายสีแดงขยายไปถึงโซนชานเมืองและเขตปริมณฑลทำให้พื้นที่โดยรอบมีโครงการอสังหาใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรโดยที่ราคาที่ดินในแถบนี้ยังมีราคาถูกกว่าในตัวเมืองกรุงเทพ สามารถเอื้อมถึงได้ง่ายกว่า

รถไฟฟ้าสายสีแดง ติดกับสนามบินดอนเมือง


รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มพาให้ผู้คนเดินทางไปยังสนามบินดอนเมืองได้ง่ายกว่าในอดีตมาก อีกทั้งในอนาคตยังมียังมีโครงการเชื่อมต่อสนามบิน 3 แห่ง (สนามบินนครปฐม-สนามบินดอนเมือง-สนามบินสุวรรณภูมิ) เพื่อลดความแออัดของสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิอีกด้วย

รถไฟฟ้าสายสีแดง มีสถานีกลางบางซื่อ


รถไฟฟ้าสายสีแดงมีสถานีกลางบางซื่อหรือสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นสถานีหลักของโครงการอีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางระบบรางจากกรุงเทพไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ด้วยรถไฟทางไกลอีกด้วย

สถานที่สำคัญ ติดรถไฟฟ้าสายสีแดง


 


ดูก่อนตัดสินใจลงทุนอสังหาพื้นที่ติดรถไฟฟ้าสายสีแดง ในหัวข้อนี้เราจะมายกตัวอย่างสถานที่สำคัญที่สามารถเดินทางไปได้ด้วยรถไฟฟ้าสายสีแดงให้คุณได้พิจารณาง่ายขึ้น 

  • สถานที่สำคัญบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม
    • สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางระบบรางที่เชื่อมต่อกรุงเทพไปยังภูมิภาคต่าง ๆ 
    • เซ็นทรัลลาดพร้าว ศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ยอดนิยมของชาวลาดพร้าว
    • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน มหาวิทยาลัยชื่อดังระดับประเทศ
    • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์และศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ ศูนย์การแพทย์สำหรับรักษาและวิจัยโรคมะเร็งโดยเฉพาะ
    • ไอทีสแควร์ หลักสี่ ศูนย์การค้าเก่าแก่ขนาดใหญ่ย่านหลักสี่ ขายสินค้าทุกประเภทไม่ว่าจะอุปกรณ์ไอที ร้านอาหาร เสื้อผ้า ของใช้
    • ร้านเจ๊เล้ง ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ราคาย่อมเยา ขึ้นชื่อเรื่องเครื่องสำอางและขนมนำเข้าจากต่างประเทศ
    • ท่าอากาศยานดอนเมือง สนามบินนานาชาติหลักแห่งแรกในประเทศไทย
    • มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง
    • ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ห้างสรรพสินค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ย่านรังสิต
       
  • สถานที่สำคัญบนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน
    • MRT สถานีบางซ่อน รถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วงเชื่อมต่อเส้นทางกรุงเทพ-นนทบุรี
    • มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยชื่อดังย่านบางบำหรุ
       

ที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง ราคาเท่าไหร่


เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นวิธีการเดินทางยอดนิยมของผู้คนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะสามารถเดินทางได้อย่างรวดเร็ว คำนวณเวลาได้ค่อนข้างแม่นยำ อีกทั้งยังมีราคาถูกเมื่อเดินทางระยะไกล การเข้ามาของรถไฟฟ้าในพื้นที่ใดก็มักจะทำให้พื้นที่โดยรอบมีราคาที่ดินสูงขึ้นด้วยเหตุนี้นั่นเอง

สำหรับที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยเฉพาะโซนบางซื่อ-รังสิต ซึ่งแต่เดิมก็เป็นย่านที่มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่น้อย เมื่อมีการเข้าถึงด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มทำให้ที่ดินในย่านนี้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเท่าตัวซึ่งแต่เดิมราคาที่ดินอยู่ที่ประมาณหลักหมื่นไม่เกินแสนต่อตารางวา แต่ในปัจจุบันขยับขึ้นไปกว่า 150,000-200,000 บาทต่อตารางวาแล้ว และยังมีแนวโน้มที่ราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีแดงจะขยับตัวสูงขึ้นอีกเรื่อย ๆ เมื่อสถานีเฟสอื่น ๆ สร้างแล้วเสร็จ ทำให้ที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นทำเลที่ตั้งน่าลงทุนไม่น้อยเลย

“The Best Property” แหล่งรวมอสังหาริมทรัพย์ทำเลดี


โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง รถไฟฟ้าสายชานเมืองที่คอยเชื่อมผู้คนในเมืองและชานเมืองให้เข้าถึงกันได้ง่ายขึ้นอย่างมาก ทำให้การเดินทางภายในกรุงเทพสะดวกขึ้น อีกทั้งยังเป็นผลดีในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ย่านชานเมืองอีกด้วย

The Best Property ตัวแทนซื้อขายเช่าอสังหาริมทรัพย์ เราเป็นผู้นำด้านธุรกิจนายหน้าตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร อยากได้บ้าน ที่ดิน คอนโดทำเลดีรอบ ๆ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ The Best Property เราได้รวมโครงการกรุงเทพและเขตปริมณฑลทำเลดีไว้ให้คุณแล้ว

สนใจซื้อขายเช่ากับเรา The Best Property สามารถติดต่อได้ตามช่องทางนี้