บทความสาระน่ารู้ อัปเดตล่าสุดปี 66 รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดทดสอบเดินรถปลายปีนี้
บทความ
บทความสาระน่ารู้

อัปเดตล่าสุดปี 66 รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดทดสอบเดินรถปลายปีนี้

29 สิงหาคม 2566


ยกระดับคุณภาพชีวิตชาวกรุงเทพขึ้นด้วยระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อทุกพื้นที่ในกรุงเทพ ในอีกไม่ช้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ก็จะพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว ด้วยการเข้าถึงของระบบขนส่งรถไฟฟ้าช่วยให้การเดินทางเพื่อเข้าออกตัวเมืองหรือเดินทางไปยังเขตอื่น ๆ ทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมาก
 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้นมีความน่าสนใจในด้านการเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าและการเดินทางด้วยระบบขนส่งอื่น ๆ หลายจุด ทำให้จะเดินทางข้ามโครงข่ายรถไฟฟ้าทำได้ง่าย อีกทั้งรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีเส้นทางเดินรถในช่วงเขตปริมณฑลอย่างนนทบุรี ผ่านจุดเชื่อมต่อที่จะพาเข้าสู่ใจกลางเมือง ไปจนถึงย่านชานเมืองกรุงเทพตะวันออกอย่างมีนบุรี ทำให้พื้นที่ทำเลใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้นเหมาะผู้ที่ต้องการที่อยู่ติดรถไฟฟ้าในราคาที่ไม่แรงเกินไป


พามาทำความรู้จัก โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู


รถไฟฟ้ามหานคร MRT สายสีชมพู หรือรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ดำเนินการโดยบริษัทนอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดขึ้นจากการร่วมค้าบีเอสอาร์ระหว่างบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน) โดยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างไปจนถึงผู้ดำเนินการให้บริการ มีสัญญาระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน

รถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรลที่มีระยะทางเดินรถยาวถึง 34.5 กิโลเมตรจำนวน 30 สถานี ซึ่งนับเป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้ารางเดี่ยวโมโนเรลแบบคร่อมราง ที่มีระยะทางสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก (อันดับ 1 ของโลกอยู่ที่เมืองฉงชิ่งสาย 3 ระยะทาง 39.1 กิโลเมตร)

โดยลักษณะการวิ่งของรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดทั้งสาย มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ศูนย์ราชการนนทบุรี วิ่งผ่านแยกแครายเข้าสู่ถนนติวานนท์ และวิ่งไปจนถึงห้าแยกปากเกร็ด ก่อนที่จะเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะและเข้าสู่กรุงเทพ โดยเชื่อมต่อกับสถานีหลักสี่ของรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (บางซื่อ-รังสิต) และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว) 

จากนั้นรถไฟฟ้าสายสีชมพูก็จะวิ่งตามถนนรามอินทรา แล้วเข้าสู่เขตมีนบุรีและมาถึงจุดสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าสายสีส้ม และเป็นโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ยังมีเส้นทางแยกในช่วงถนนแจ้งวัฒนะเข้าสู่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่เป็นศูนย์การจัดแสดงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังเปรียบเสมือนเมืองย่อม ๆ ที่มีที่พัก ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน ลานอเนกประสงค์ สนามกีฬา ศูนย์ประชุมและสถานที่จัดกิจกรรมกลางแจ้งและในร่มขนาดน้อยใหญ่ โดยภายในอิมแพ็คฯ จะมีรถไฟฟ้าสายย่อยอีก 2 สถานี รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร

ในปัจจุบันการดำเนินการของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ดำเนินการก่อสร้างและวางระบบมาได้เกิน 90% แล้ว ภายในสิ้นปีนี้จะเริ่มทดสอบระบบเดินรถ และพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบสำหรับสายหลักภายในปี 67 
 

จุดเด่นที่น่าสนใจของรถไฟฟ้าสายสีชมพู 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี มีเส้นทางเดินรถจากฝั่งนนทบุรีผ่านมาทางโซนกรุงเทพตะวันออก โดยเป็นเส้นทางที่มีสถานที่สำคัญอยู่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ราชการนนทบุรี, เซ็นทรัลพลาซ่า รามอินทรา, โรงพยาบาลสินแพทย์, แฟชั่นไอส์แลนด์และพรอมานาด เป็นต้น อีกทั้งในย่านชานเมืองหลายจุด เช่น ฝั่งนนทบุรี หรือฝั่งมีนบุรี ก็มีหมู่บ้านจัดสรรบ้านมีนบุรี ชุมชนย่านอาศัยเป็นจำนวนมาก

ที่พิเศษกว่านั้นคือรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะมีเส้นทางสายแยกเพื่อเข้าสู่อิมแพ็ค เมืองทองธานีโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นศูนย์จัดแสดงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 15 ล้านคนต่อปีเลยทีเดียว

นอกจากนี้เส้นทางการเดินรถของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ถึง 3 สายในปัจจุบันและ 3 สายในอนาคต และยังเชื่อมต่อกับเส้นทางคมนาคมทางน้ำอย่างเรือด่วนเจ้าพระยาอีกด้วย ทำให้การเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูเพื่อไปยังเขตอื่น ๆ ด้วยโครงข่ายอื่น ๆ ทำได้ง่าย ประหยัดเวลาในการเดินทางมากขึ้น

ส่วนความน่าสนใจในเรื่องระบบรถไฟฟ้าของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่เป็นระบบรางเดี่ยวแบบคร่อมรางนั้นเนื่องจากการสร้างรางเดินรถไฟของระบบโมโนเรลจะใช้พื้นที่น้อยกว่ารถไฟระบบอื่น ๆ และยังสามารถเลี้ยงวงแคบหรือขึ้นลงทางลาดชันได้ดีกว่า จึงเหมาะกับชุมชนแออัดที่มีพื้นที่น้อย อีกทั้งรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้นยังเป็นระบบขับเคลื่อนแบบไร้คนขับจึงลดข้อผิดพลาดจาก Human Error ได้เป็นอย่างดี

เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางเข้า-ออกชานเมือง ทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูก็ยังมีอาคารสำหรับจอดรถ ในชื่อว่า “จอดแล้วจร” ที่สถานีปลายทางมีนบุรี สามารถรองรับรถยนต์และจักรยานยนต์สูงสุด 3,000 คัน


เส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู  


เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี วิ่งในทิศตะวันออกเข้าสู่กรุงเทพเหนือโซนหลักสี่-รังสิต และวิ่งไปทางทิศตะวันออกเพื่อไปสู่เขตมีนบุรีที่เป็นปลายทางในเฟสแรก ระหว่างทางมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ถึง 3 สายในปัจจุบัน และ 3 สายในอนาคต รวมทั้งสิ้น 6 สายสำคัญที่จะเชื่อมการคมนาคมในกรุงเทพสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

รถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอื่น ๆ อีก 6 สาย

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ถึง 6 สาย แบ่งเป็นสายที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน 3 สาย และ สายในอนาคตอีก 3 สาย ดังนี้

  • เส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน
    • รถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (บางใหญ่-เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
    • รถไฟฟ้าชานเมืองสายธานีรัถยา หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สถานีหลักสี่
    • รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (เป็นสถานีร่วมระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าบีทีเอส)
       
  • เส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในอนาคต
    • รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
    • รถไฟฟ้าสายสีเทา สถานีวัชรพล
    • รถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีมีนบุรี

 

อัปเดตค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู ราคาเท่าไหร่

ในปี 2565 มีการคาดการณ์ค่าโดยสายของรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะมีอัตราค่าโดยสายเริ่มต้นที่ 14 บาท และอัตราค่าเดินทางสูงสุดอยู่ที่ 42 บาท แต่อย่างไรก็ตามอัตราค่าโดยสารอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากในปีเดียวกันก็มีการคาดการณ์ค่าโดยสายของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะอยู่ในช่วง 14-42 บาท แต่เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดตัวจริง อัตราค่าโดยสารกลับปรับตัวขึ้นเป็น 15-45 บาท โดยคิดอัตราค่าบริการตามระยะทาง
 

รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีสถานีอะไรบ้าง

สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะมีสถานีทั้งหมด 30 สถานีบนเส้นทางหลักและอีก 2 สถานีจากเส้นทางแยก โดยมีสถานีดังนี้

  • สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี : เป็นสถานีเริ่มต้นของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำตาล (โครงการในอนาคต)
  • สถานีแคราย
  • สถานีสนามบินน้ำ
  • สถานีสามัคคี
  • สถานีกรมชลประทาน
  • สถานีแยกปากเกร็ด : เชื่อมต่อกับเรือด่วนเจ้าพระยา ท่าเรือปากเกร็ด
  • สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
  • สถานีศรีรัช
  • สถานีเมืองทองธานี : เชื่อมต่อสายแยกอิมแพ็ค เมืองทองธานี
  • สถานีแจ้งวัฒนะ 14
  • สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
  • สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ
  • สถานีหลักสี่ : เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สถานีหลักสี่
  • สถานีราชภัฏพระนคร
  • สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ : เชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (เป็นสถานีร่วม)
  • สถานีรามอินทรา 3
  • สถานีลาดปลาเค้า
  • สถานีรามอินทรา กม.4
  • สถานีมัยลาภ
  • สถานีวัชรพล : เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเทา สถานีวัชรพล (โครงการในอนาคต)
  • สถานีรามอินทรา กม.6
  • สถานีคู้บอน
  • สถานีรามอินทรา กม.9
  • สถานีวงแหวนรามอินทรา
  • สถานีนพรัตน์
  • สถานีบางชัน
  • สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  • สถานีตลาดมีนบุรี
  • สถานีมีนบุรี : สถานีปลายทางเฟสแรกของรถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีมีนบุรี (โครงการในอนาคต)

นอกจาก 30 สถานีจากเส้นทางเดินรถหลักแล้ว ยังมีอีก 2 สถานีทางแยก หรืออิมแพ็คลิงก์ที่เข้าสู่อิมแพ็ค เมืองทองธานีอย่างสถานีอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ และสถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในช่วงปี 2568 นี้
 

ที่ดินแนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู ราคาเท่าไหร่

เส้นทางการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูผ่านสถานที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งเป็นศูนย์การจัดแสดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใน 1 ปีจะมีการจัดงานที่อิมแพ็คเมืองทองธานีกว่า 400 งาน และมีผู้เข้าเยี่ยมชมตลอดทั้งปีกว่า 15 ล้านคน อีกทั้งในย่านนี้ยังมีศูนย์การค้า สนามกีฬา อาคารห้องชุดมากมาย หากโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูสร้างแล้วเสร็จ สามารถคาดการณ์ได้ว่าพื้นที่บริเวณเมืองทองใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะกลายเป็นทำเลที่ตั้งน่าลงทุนและมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากจะมีผู้คนเดินทางเข้ามามากขึ้นนั่นเอง

โดยตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีจุดสำคัญมากมาย ทำให้มีผู้สนใจลงทุนในพื้นที่ย่านนี้จำนวนมาก ส่งผลให้ราคาที่ดินในพื้นที่ปรับตัวสูงขึ้นเริ่มต้นที่ 30,000-80,000 บาทต่อตารางวา และบางช่วงของเส้นรถไฟสายสีชมพูมีการปรับตัวขึ้นสูงถึงหลักแสนบาทต่อตารางวา เช่น ช่วงศูนย์ราชการนนทบุรี, ช่วงเมืองทอง-หลักสี่, ช่วงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เป็นต้น

 

อสังหาริมทรัพย์แนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู ดูได้ที่  “The Best Property” 

โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้ และเนื่องจากการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งต่าง ๆ หลายจุด รวมถึงการเข้าถึงอิมแพ็ค เมืองทองธานีที่เป็นไฮไลท์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูทำให้นักลงทุนอสังหาสนใจพื้นที่ใกล้เคียงรถไฟฟ้าสายสีชมพูไม่น้อยเลยทีเดียว

สนใจคอนโดกรุงเทพใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่ The Best Property เราได้รวบรวมโครงการกรุงเทพทำเลดีใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพูไว้ให้คุณแล้ว

สนใจซื้อขายเช่ากับเรา The Best Property สามารถติดต่อได้ตามช่องทางนี้