รถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำเลน่าอยู่แห่งอนาคต เปิดโอกาสความเจริญก่อนใคร
รถไฟฟ้าสายสีส้มตัวแปรใหม่ที่พร้อมเข้ามาสร้างความแตกต่างให้กรุงเทพฝั่งตะวันออก อีกหนึ่งทางเลือกแห่งอนาคตสำหรับที่อยู่อาศัย รวมถึงการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากต่างก็สนใจการมาถึงของรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นอย่างมาก ด้วยทำเลที่ทอดยาวไปตามถนนเส้นหลัก เชื่อมต่อระหว่างสถานีมีนบุรีและสุวินทวงศ์เข้าด้วยกันในระยะทางมากกว่า 40 กิโลเมตร ทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นจุดเชื่อมระหว่างกรุงเทพฝั่งตะวันออกและทำเลแหล่งเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้มยังสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินได้ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ หรือจะไปเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลำสาลีก็ได้ รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีส้มยังเชื่อมกับสายสีชมพูที่สถานีมีนบุรีอีกด้วย เรียกได้ว่าสามารถเดินทางไปรอบ ๆ กรุงเทพได้อย่างทั่วถึงด้วยรถไฟฟ้าสายนี้ได้เลย
ความน่าสนใจของรถไฟฟ้าสายสีส้ม
รถไฟฟ้าสายสีส้มมีความน่าสนใจหลากหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการนำพาความเจริญเข้าสู่โซนกรุงเทพตะวันออกอย่างรวดเร็ว จากการที่รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นตัวเชื่อม 2 ฟากฝั่งของกรุงเทพระหว่างกรุงเทพตะวันออกและกรุงเทพตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายสีส้มยังตัดกับเส้นรถไฟฟ้ามากถึง 7 สาย และรถไฟฟ้าสายสีส้มยังใช้ระบบไฟฟ้าแบบรางหนัก จึงทำให้รองรับผู้โดยสารได้ในปริมาณมาก ไม่จำเป็นต้องรอนานเพื่อขึ้นรถไฟฟ้าสายสีส้มคันต่อไปในยามเร่งด่วน
ด้วยจุดเด่นเหล่านี้ทำให้พื้นที่บริเวณรอบรถไฟฟ้าสีส้มกลายเป็นทำเลที่ตั้งน่าลงทุนที่เหมาะแก่การลงทุนซื้อไว้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตของทำเลอย่างก้าวกระโดดในอนาคต โดยแต่ละจุดเด่นมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
แหล่งความเจริญ เชื่อมต่อกับย่านที่อยู่อาศัย
รถไฟฟ้าสายสีส้มนำพานักลงทุนเข้าสู่ถนนรามคำแหงได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดการเจริญเติบโตของอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้มอย่างก้าวกระโดด และยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง รวมไปถึงมูลค่าที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้มเองก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มกลายเป็น Hub อยู่อาศัยมากมาย พร้อมกระจายความเจริญทั่วทั้งกรุงเทพ เนื่องจากช่วยย่นระยะการเดินทางให้เร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลามากมายเพื่อเดินทางจากกรุงเทพตะวันออกเข้าสู่กรุงเทพโซนอื่น ๆ อีกต่อไป และการมาถึงของรถไฟฟ้าสายสีส้มก็นำพาความเจริญมาสู่บริเวณที่อยู่อาศัยรอบ ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าต่าง ๆ ตลอดจนห้างสรรพสินค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ได้รับอานิสงส์ด้านการค้าขายที่ดีขึ้นตามไปด้วย
เชื่อมเส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
รถไฟสายสีส้มหากดูเทียบกับผังเมืองกรุงเทพแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นเส้นที่เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร จากการที่มีสถานียกระดับทั้งหมด 7 สถานี และสถานีใต้ดินอีก 10 สถานี ที่ได้รับความเห็นชอบให้ก่อสร้างแล้วทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มทอดยาวเชื่อม 2 ฝั่งของกรุงเทพได้พอดี
การเชื่อมเส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตกของรถไฟฟ้าสายสีส้มนี้ทำให้การเดินทางภายในกรุงเทพครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาวกรุงเทพทางฝั่งตะวันออกที่จะเดินทางสะดวกขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพหรือการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพก็ตาม
การเดินทางสะดวกสบาย เส้นทางตัดกับรถไฟฟ้าถึง 6 สาย
Mrt สายสีส้ม ยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามากถึง 6 สาย ทำให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าสายสีส้มสามารถเดินทางไปรอบกรุงเทพอย่างทั่วถึง โดยมีจุดเชื่อมที่สถานีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
- สถานีบางขุนนนท์ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
- สถานีมีนบุรี (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)
- สถานีลำสาลี (รถไฟฟ้าสายสีเหลือง)
- สถานีราชเทวี (รถไฟฟ้าสายสีเขียว)
- สถานียมราช (รถไฟฟ้าสายสีแดง)
- สถานีราชปรารภ (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์)
ด้วยการมีเส้นทางที่เชื่อมต่อกับสถานีมากถึง 7 สถานี และตัดกับรถไฟฟ้าทั้งหมด 6 สาย ได้แก่ สายสีน้ำเงิน, สายสีชมพู, สายสีเหลือง, สายสีเขียว, สายสีแดง และแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นทางเลือกที่โดดเด่นสำหรับการเดินทางในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปิดให้บริการครบทุกเส้นทางแล้ว
ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางหนัก รองรับผู้โดยสารได้ปริมาณมาก
รถไฟฟ้าสายสีส้มใช้ระบบรถไฟฟ้ารางหนัก เนื่องจากจะต้องเดินรถในเส้นทางที่ยาว รถไฟฟ้าสายสีส้มจึงถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้ในปริมาณที่มากกว่ารถไฟฟ้าบางสาย เพื่อไม่ให้ผู้ใช้บริการต้องรอคอยนาน และสามารถเดินทางได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีสถานีไหนบ้าง
รถไฟฟ้าสายสีส้มมีทั้งหมด 17 สถานีที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างแล้ว ได้แก่
- สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สถานีรฟม.
- สถานีวัดพระราม 9
- สถานีรามคำแหง 12
- สถานีรามคำแหง
- สถานีกกท.
- สถานีรามคำแหง 34
- สถานีแยกลำสาลี
- สถานีศรีบูรพา
- สถานีคลองบ้านม้า
- สถานีสัมมากร
- สถานีน้อมเกล้า
- สถานีราษฎร์พัฒนา
- สถานีมีนพัฒนา
- สถานีเคหะรามคำแหง
- สถานี มีนบุรี
- สถานี แยกร่มเกล้า
และในอนาคตรถไฟฟ้าสายสีส้มก็จะมีสถานีอื่น ๆ เพิ่มเติมไปจนถึงสถานีประดิษฐ์มนูญธรรมอีกด้วย
โดยสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้มที่โดดเด่นประกอบไปด้วยสถานีดังต่อไปนี้
1. สถานีรามคำแหง
รถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีรามคำแหง เป็นย่านที่อยู่อาศัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดย่านหนึ่ง และยังมีสถานศึกษารวมไปถึงห้างสรรพสินค้าที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตลอดจนห้างสรรพสินค้า เดอะมอลล์ รามคำแหง 2 เป็นต้น
2. สถานีแยกลำสาลี
รถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีแยกลำสาลี เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและอนาคตก็จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลได้อีกด้วย จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งสถานีสำคัญที่ทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มสามารถเดินทางไปทั่วทั้งกรุงเทพได้อย่างสะดวกสบาย
3. สถานีคลองบ้านม้า
รถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีคลองบ้านม้า เป็นอีกหนึ่งย่านอสังหาริมทรัพย์ที่มีหมู่บ้านเกิดใหม่มากมาย แต่ยังคงมีพื้นที่ว่างให้เข้าไปจับจองกันได้อยู่ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้มองหาบ้านทำเลดีที่กำลังจะมาแรงในอนาคตในราคาที่ยังเข้าถึงได้
4. สถานีมีนบุรี
รถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีมีนบุรี เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งมีทั้งอาคารจอดและศูนย์ซ่อมบำรุงในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย จึงเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มสามารถเดินทางไปได้ทั่วทั้งกรุงเทพได้ยาวไปถึงแถบปริมณฑลเลยทีเดียว
5. สถานีศูนย์วัฒนธรรม
รถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีศูนย์วัฒนธรรม เป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่ทำให้ผู้เดินทางโดยรถไฟฟ้าสายสีส้มสามารถเข้าถึงกรุงเทพด้านในได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งสถานีสำคัญที่ช่วยให้ชาวกรุงเทพตะวันออกเชื่อมถึงใจกลางกรุงเทพได้อย่างรวดเร็ว
6. สถานีประดิษฐ์มนูญธรรม
รถไฟฟ้าสายสีส้มสถานีประดิษฐ์มนูญธรรม เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพ จึงมีการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคอนโดมากมาย และมีมูลค่าที่ดินสูงมาก เรียกได้ว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งเศรษฐกิจที่เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้มแล้วมีมูลค่าสูงมากขึ้นไปอีก
แนะนำสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทำเลน่าอยู่ น่าลงทุน
รถไฟฟ้าสายสีส้มสามารถแบ่งได้ออกเป็นสายฝั่งตะวันออกและสายฝั่งตะวันตก ซึ่งจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
รถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออกจะเป็นเส้นทางตั้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ไปจนถึงสถานีมีนบุรึ ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับทั้งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นรถไฟฟ้าสายที่สำคัญที่ทำให้การเดินทางครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพชั้นในไปจนถึงรอบนอกบริเวณเขตปริมณฑล
รถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก
รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกจะเป็นเส้นทางตั้งแต่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ไปจนถึงสถานีบางขุนนนท์ ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีเขียว รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และยังเชื่อมกับสถานีรถไฟร่วมศิริราชอีกด้วย ทำให้รถไฟฟ้าสายสีส้มเส้นนี้เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกและตะวันออกเข้าไว้ด้วยกัน รวมไปถึงการเดินทางไปยังสถานที่เฉพาะต่าง ๆ ก็ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
รถไฟฟ้าสายสีส้ม เปิดให้บริการเมื่อไหร่ เสร็จหรือยัง
รถไฟฟ้าสายสีส้ม เปิดให้บริการเมื่อไหร่? จากการคาดการณ์พบว่ารถไฟฟ้าสายสีส้ม อาจเปิดให้บริการได้เร็วที่สุดในอีก 2 ปีข้างหน้าคือปี 2568 แต่อาจเลื่อนออกไปอีกได้ขึ้นอยู่กับว่ารถไฟฟ้าสายสีส้ม เสร็จเมื่อไหร่นั่นเอง
“The Best Property”รวมที่พักทำเลดี น่าลงทุน
รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นหนึ่งในทำเลแห่งอนาคตที่สามารถเดินทางไปได้ทั่วทั้งกรุงเทพ หากคุณกำลังสนใจอยากลงทุนอสังหาฯหรืออยากหาที่พักอาศัยในโครงการดี ๆ ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่รวมโครงการกรุงเทพและรวมคอนโดกรุงเทพเพื่อเลือกโครงการที่ถูกใจตามแนวรถไฟฟ้าสายสีส้ม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก line@thebestproperty หรือโทร 02-047-4282