บทความความรู้เรื่องบ้าน รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีวิธีอย่างไร?
บทความ
บทความความรู้เรื่องบ้าน

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีวิธีอย่างไร?

1 สิงหาคม 2565

 


การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นวิธีการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายการผ่อนบ้านสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้กู้สามารถเริ่มต้นการรีไฟแนนซ์คอนโด บ้านเดี่ยว ทาว์เฮ้าส์ และบ้านประเภทอื่น ๆ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเป็นเงินกู้ให้มีค่าใช้จ่ายวงดแต่ละเดือนได้น้อยลง ประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อมเพิ่มวงเงินสำหรับการจ่ายส่วนต่างอื่น ๆ ของบ้านได้มากขึ้น

ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านแบ่งออกเป็นกี่หมวด? มีกี่ขั้นตอน? มีการจัดเตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง ทาง The Best Property จึงให้ข้อมูล Refinance ประกอบแก่ผู้อ่านได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าผู้กู้ที่ทำการรีไฟแนนซ์บ้านไม่ผ่าน หรือ ไม่มีประสบการณ์แลกเปลี่ยนสินเชื่อกู้เงิน สามารถดูลายละเอียดการรีไฟแนนซ์บ้านได้ในบทความนี้

 

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร


การรีไฟแนนซ์บ้าน (refinance) คือ การทำข้อตกลงสินเชื่อกู้เงินสำหรับการซื้อบ้านกับธนาคารที่ผู้ซื้อได้จ่ายในปัจจุบัน ให้ถูกทำการโอนย้ายไปทำสัญญาจ่ายเงินต้นกับธนาคารรายใหม่ ซึ่งผู้ซื้อสามารถทำการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม เพื่อทำการยื่นเสนอให้ภาระอัตราดอกเบี้ยบ้านในการจ่ายในราคาต่ำกว่า ยืดเวลาในการผ่อนชำระ อีกทั้งลดภาระการจ่ายหนี้ผ่อนชำระงวดแต่ละเดือนได้ในราคาที่ถูกลง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า การรีไฟแนนซ์บ้านรวมหนี้กับธนาคารใหม่ 

โดยวิธีการรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อทำข้อตกลงสัญญากับธนาคารใหม่ ผู้จ่ายต้องหมดสัญญาการทำสินเชื่อกู้เงินกับธนาคารเก่า หรือจ่ายค่าปรับเวลาส่วนของสัญญาสินเชื่อกับธนาคารเก่าที่เหลืออยู่ พร้อมมีประวัติพฤติกรรมการผ่อนชำระอย่างตรงต่อเวลาและมีเอกสารรับรองอย่างครบถ้วน 

ยกตัวอย่าง การรีไฟแนนซ์บ้าน เช่น  นาย A ซื้อบ้านเดี่ยวในโครงการหนึ่ง ราคา 1,000,000 บาท ทำการดาวน์จ่ายกับตัวโครงการไป 100,000 บาท เหลือยอดเงินกู้อีก 900,000 บาท จึงทำสัญญาสินเชื่อกู้เงินกับธนาคาร Z เพื่อทำการผ่อนชำระ 10,000 บาท/เดือน พร้อมจ่ายดอกเบี้ยรวมไปอีก 3% ไปด้วย รวมยอดจ่ายทั้งหมด 16,171 บาท/เดือน ในระยะสัญญาสินเชื่อกูเงินขั้นต่ำ 5 ปี

เมื่อนาย A ทำการผ่อนบ้านกับธนาคาร Z จนครบกำหนดสัญญาเสร็จเรียบร้อย จึงทำการยื่นรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร B ที่ให้สิทธิพิเศษการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อทำสัญญาผ่อนจ่ายต่อเดือนในราคารวมดอกเบี้ยแค่ 2.5% จึงทำให้ราคาผ่อนบ้านต่อเดือนมียอดจ่ายแค่ 15,973 บาท/ต่อเดือนเท่านั้น

 

รีไฟแนนซ์บ้านธนาคารไหนดี


การรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่หรือปัจจุบัน จำเป็นต้องพิจารณาลายละเอียดการทำสัญญาสินเชื่อบ้านอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยบ้านแต่ละสถาบันการเงินมีเปอร์เซ็นต์การรวมยอดเงินกู้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งธนาคารแต่ละสถาบันมีเงื่อนไขการผ่อนชำระกับผู้ทำสัญญาที่พิจารณาการรีไฟแนนซ์บ้านที่แตกต่างกันอย่างมาก 

ดังนั้นก่อนที่ผู้ซื้อจะทำสัญญายื่นรีไฟแนนซ์บ้าน จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลการทำข้อตกลงการทำสินเชื่อกู้เงินกับธนาคารนั้น ๆ อย่างระมัดระวัง ตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูลการทำธุรกรรมการเงิน การทำความเข้าใจอัตราดอกเบี้ยบ้านแต่ละธนาคาร มีเงื่อนไขการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินเพื่อยื่นเอกสารแบบถี่ถ้วน เพราะหลักเกณฑ์การทำสินเชื่อรีไฟแนนบ้านแต่ละสถาบันวงการเงินมีดอกเบี้ยและกฎระเบียบที่แตกต่างกันไป 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับธนาคารที่น่าสนใจ ได้ที่บทความ >>>> รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารไหนดี 2565 

 

 

เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน ใช้เอกสารอะไรบ้าง


โดยทั่วไป ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน ผู้ซื้อจำเป็นต้องเตรียมเอกสารสำหรับการดำเนินการต่อสัญญากับธนาคาร ดังต่อไปนี้ 

1. เอกสารประจําตัว

เอกสารยืนยันตัวตนของผู้กู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยเอกสารประจำตัว ประกอบไปด้วย

  • สำเนาทะเบียนบัตรประชาชน
  • สำเนาบัตรทะเบียนบ้าน 
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
  • สำเนาใบทะเบียนสมรส/หย่า
  • สำเนาใบทะเบียนประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
  • สำเนาใบมรณบัตร ในกรณีผู้สมรสเสียชีวิต 


2. เอกสารแสดงรายได้

เอกสารรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับการยืนยันรายได้ของผู้กู้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ทางธนาคารพิจารณาทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านกับผู้กู้ได้อย่างปลอดภัย โดยหมวดหมู่รายได้ของผู้กู้แบ่งข้อมูล Refinance ออกเป็น 2 หมวดหมู่ ประกอบไปด้วย

• เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน สำหรับบุคคลที่มีรายได้ประจำ

  1. หนังสือรับรองการทำงานประจำ 
  2. สลิปเงินเดือนสำหรับ ย้อนหลัง 3-6 เดือน
  3. หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ (ในกรณีที่ผู้กู้มี สามารถนำมายื่นให้กับธนาคารได้)
  4. สำเนารับรองการหักภาษี 50 ทวิ (ในกรณีบางธนาคารต้องการข้อมูลเอกสารประเภทนี้เท่านั้น)
     

• เอกสารรีไฟแนนซ์บ้าน สำหรับบุคคลที่ทำธุรกิจส่วนตัว

  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน/ใบทะเบียนการค้า
  2. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้/ผู้กู้ร่วม
  3. สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 12 เดือน (ทั้งในนามบุคคล และในนามกิจการ)
  4. สำเนาแสดงภาษีซื้อ-ขาย ภ.พ. 30 หรือ ภงด. 50/51 ย้อนหลัง 5 เดือน (ถ้ามี)

 

3. เอกสารแสดงหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน

เอกสารของผู้กู้สำหรับเป็นข้อมูลหลักประกันทำเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้าน จำเป็นต้องมีเอกสารการทำสินเชื่อกู้เงินกับสถาบันทางการเงินเก่า และเอกสารจากกรมที่ดิน ประกอบไปด้วย 

  1. สำเนาสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินเดิม
  2. สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน หรือ สำเนาสัญญาจำนองห้องชุด
  3. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2)
  4. สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน ทด.13 หรือ สัญญาให้ที่ดิน ทด.14 หรือ สัญญาซื้อขายห้องชุด
  5. สำเนาใบเสร็จผ่อนชำระค่างวดบ้าน หรือ ถ้าผ่อนชำระแบบตัดค่างวดอัตโนมัติ ให้ใช้ รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 12 เดือน

 

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน มีวิธีอย่างไร


ผู้ซื้อที่มีความต้องการอยากรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ สามารถจัดเตรียม 8 ขั้นตอนการซื้อบ้านดังต่อไปนี้

1. พิจารณาข้อตกลง เงื่อนไข ข้อตกลงระหว่างธนาคารใหม่และเก่า
ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อมีความต้องการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเก่า สามารถติดต่อการทำธุรกรรมการเงินได้ทันที เพื่อนำข้อเสนอของธนาคารเก่าไปเปรียบเทียบกับเงื่อนไขของธนาคารใหม่ ให้ผู้ขอสามารถชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าการใช้บริการของสบาบันวงการเงินทั้ง 2 แห่งนี้ โดยพิจารณาได้จากอัตราการลดดอกเบี้ย (Retention) วงเงินทางธนาคารสามารถให้มากน้อย และระยะเวลาการผ่อนในสัญญามีความสมน้ำสมเนื้อมากแค่ไหน

2. ตรวจเช็คสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้าน
ทางธนาคารเก่าและใหม่จะเปิดอนุมัติการรีไฟแนนซ์บ้านของผู้กู้ได้ในกรณีที่ ผู้กู้ผ่อนชำระบ้านครบ 3 ปีเป็นขั้นต่ำ หากผู้กู้ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนด จำเป็นต้องจ่ายค่าปรับให้ทางธนาคารที่เหลืออยู่ให้หมด

3. รีเช็คยอดหนี้ที่ต้องจ่ายที่เหลือ
หากผู้กู้ต้องการตรวจเช็คยอดหนี้ในระหว่างอยู่ในสัญญากับธนาคารปัจจุบัน สามารถติดต่อทางธุรกรรมทางการเงินเพื่อทำการตรวจเช็ค ในการสรุปยอดหนี้ทั้งหมดได้ในภายหลัง โดยการรีเช็คยอดหนี้นี้สามารถเป็นข้อมูลให้ผู้กู้ตรวจเช็คข้อเสนอการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ได้

4. ศึกษาหาธนาคารสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน
หากผู้กู้ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ ผู้กู้ควรศึกษาข้อเสนอ เงื่อนไข และข้อกำหนดของสถาบันทางการเงินใหม่อย่างรอบครอบ เพราะธนาคารแต่ละแห่งมีโปรโมชั่นกับข้อเสนอการรีไฟแนนซ์บ้านที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้กู้สามารถหาแหล่งในการทำข้อตกลงได้คุ้มค่าที่สุด

5. จัดเตรียมเอกสารสำหรับการทำสัญญา
เอกสารสำหรับผู้กู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้านให้กับทางธนารคารมีทั้งหมด 3 ประเภทได้แก่
5.1 เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ใบสำเนาทะเบียนประชาชน หรือ สำเนาบัตรทะเบียนบ้าน 
5.2 เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือนสำหรับ ย้อนหลัง 3-6 เดือน หรือ สำเนารับรองงาน   ประจำ
5.3 เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน เช่น สัญญาเงินกู้จากธนาคารเดิม และสำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกันอย่างโฉนดที่ดิน

6. การยื่นสินเชื่อในการรีไฟแนนซ์บ้าน 
เมื่อทางผู้กู้จัดเตรียมเอกสารที่กล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถทำการยื่นกับธนาคารใหม่ที่รับเรื่องแล้วรอทางสถาบันไปประเมินราคาหลักประกันแล้วเจรจาการโอนข้อมูลสินเชื่อกู้เงินกับธนาคารเก่า เพื่อเป็นขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อการรีไฟแนนซ์บ้านอย่างเป็นทางการในลำดับต่อไป 

7. จัดเตรียมยอดเงินสำหรับค่าใช้จ่ายการจัดเตรียมดำเนินการ
ทางธนาคารจะจัดเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนต่างสำหรับการใช้บริการ โดยมีค่าธรรมเนียม ค่าประเมินราคา โปรโมชันในธนาคารที่เสนอไว้ เพื่อสรุปยอดค่าใช้จ่ายการรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับผู้กู้ทั้งหมด

8. การทำสัญญาสินเชื่อและจดจำนองกับกรมที่ดิน
ลงทะเบียนการทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านอย่างเป็นทางการ ทางธนาคารจะจัดเตรียมเอกสารเซ็นที่กรมที่ดินและค่าจดจำนอง เป็นกระบวนการทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านเป็นขั้นตอนสุดท้าย

 

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องเสียค่าอะไรบ้าง


ค่าใช้จ่ายการรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับใช้บริการของธนาคาร มีค่าใช้จ่ายดังนี้

• ค่าบริการประเมินราคา แต่ละโปรโมชันที่ทางธนาคารได้เสนอไว้
• ค่าจดจำนอง โดยหักเป็น 1% ให้กับกรมที่ดินของวงเงินกู้
• ค่าประกันอัคคีภัย โดยเป็นกฎข้อบังคับของกฎหมายไทยที่ต้องทำทุก 1-3 ปี
• ค่าธรรมเนียมการใช้บริการอื่น ๆ ของธนาคาร
 

ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์บ้าน


ประโยชน์การการรีไฟแนนซ์บ้าน มีดังนี้

1. ประหยัดค่าดอกเบี้ยสำหรับการผ่อนบ้าน
ทางธนาคารที่ทำสัญญาการรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ อาจเสนอเปอร์เซ็นต์ดอกเบี้ยร้อยละการผ่อนบ้านที่ถูกกว่าสถาบันการเงินเจ้าอื่น ๆ ได้หยืดหยุ่นกว่า

2. ลดระยะเวลาในการผ่อนบ้าน
การผ่อนเงินต้นจะลดลงเมื่อ ยอดดอกเบี้ยน้อยกว่ายอดเก่าของธนาคารเดิม เนื่องด้วยระยะเวลาการผ่อนบ้านรายเดือนจาก 20 ปีอาจเหลือยอดสะสมการผ่อนแค่ 15 ปี

3. ลดยอดค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน
การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นปัจจัยที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านแต่ละเดือนแบบขั้นบันได โดยขึ้นอย่กับโปรโมชันของธนาคารที่นำเสนอยอดดอกเบี้ยพิเศษประจำช่วง

4. ธนาคารใหม่มีข้อเสนอเปิดวงเงินเพิ่มที่มากกว่าเดิม 
ในระยะที่ผู้กู้ ทำการรีไฟแนนซ์บ้านมาซักพักใหญ่แล้ว ผู้กู้สามารถเปิดสินเชื่อพร้อมวงเงินเพื่อลดภาระหนี้ส่วนต่างของราคาบ้านได้ 

 

Q&A รวมคำถามถามบ่อยเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้าน


รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ไหม

ผู้กู้สามารถการรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิมได้ ในกรณีที่ต้องการลดดอกเบี้ยเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาข้อเสนอของธนาคารที่ต้องการสัญญาใหม่เท่านั้น

รีไฟแนนซ์บ้านต้องกี่ปี

ระยะเวลาการรีไฟแนนซ์บ้านได้หลังผ่อนบ้านกับสัญญาธนาคารปัจจุบัน 3 ปีเป็นต้นไป

ผ่อนบ้าน 2 ปี รีไฟแนนซ์ได้ไหม

ผู้กู้สามารถทำการรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดได้ แต่ต้องจ่ายค่าปรับกับธนาคารที่ทำสัญญาที่เหลือไว้ให้ครบทั้งหมด