ค่า Ft คืออะไร ทำไมค่าไฟฟ้าแพง ข้อมูลล่าสุดจากการไฟฟ้านครหลวง
ค่า Ft คืออะไร ค่า Ft ไฟฟ้าสำคัญอย่างไร ทำไมการขึ้นลงของค่า Ft ถึงมีผลกับค่าไฟของเรา แม้เราจะใช้ไฟเท่าเดิม แต่เมื่อค่า Ft เปลี่ยน ค่าไฟของเราก็เปลี่ยนตามไปด้วย
หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อค่า Ft กันมาบ้างแล้ว แต่บางคนก็อาจไม่เคยรู้จักค่า Ft กันมาก่อน ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับค่า Ft ตัวการที่ทำให้เราต้องเสียค่าไฟมากขึ้น หรือได้ลดค่าไฟลง ซึ่งปรากฏอยู่ในบิลค่าไฟ แต่เราอาจมองข้ามไป
ค่า FT คืออะไร
ค่า Ft คือค่าไฟฟ้าผันแปร หรือเรียกได้ว่าค่า Ft เป็นสูตรคำนวณสำหรับการเปลี่ยนแปลงค่าไฟฟ้าตามต้นทุนที่การไฟฟ้าไม่อาจควบคุมได้ เช่น ค่าเชื้อเพลิง หรือ ค่าซื้อไฟฟ้า โดยนอกจากค่า Ft แล้วก็ยังมีอีกหนึ่งค่าที่เรารู้จักกันดีอย่างค่าไฟฟ้าฐาน ที่จะแบ่งตามประเภทผู้ใช้งานออกเป็น 8 ประเภทด้วยกัน
ดังนั้นแล้วค่า Ft ไฟฟ้า คืออีกหนึ่งค่าที่สำคัญที่เราควรจะรู้จักเอาไว้ เพื่อจะได้รู้เหตุผลว่าทำไมค่าไฟฟ้าของเราถึงมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แม้เราจะยังใช้ไฟเท่าเดิม เรียกได้ว่าค่า Ft เป็นค่าที่หลายคนอาจมองข้าม แต่กลับมีผลต่อค่าไฟอย่างคาดไม่ถึง นอกจากเรื่องค่า Ft แล้วยังสามารถอ่านเรื่องน่ารู้อื่น ๆ ได้ที่: สาระน่ารู้เรื่องบ้าน
ความสำคัญของค่า Ft ส่งผลกับค่าไฟฟ้าอย่างไร
ค่าไฟฟ้าผันแปรอย่างค่า Ft มีผลต่อค่าไฟได้ 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ
- ค่า Ft เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าไฟสูงขึ้น
- ค่า Ft ลดลงส่งผลให้ค่าไฟถูกลง
ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าค่าไฟฟ้าผันแปร Ft คืออีกค่าหนึ่งที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อบิลค่าไฟของเรา ที่แม้เราจะควบคุมการใช้ไฟฟ้าของตนเองมากแค่ไหน แต่หากค่า Ft เปลี่ยนแปลงไป เราไม่สามารถทำอะไรได้ และต้องจ่ายในส่วนนั้น
โดยค่าไฟฟ้าผันแปร คือค่าที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่เปลี่ยนแปลงทุกปี และอาจรวมไปถึงค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่อาจกระทบกับค่า Ft ได้อีกด้วย ดังนั้นค่า Ft จึงเป็นค่าที่เราไม่อาจควบคุมได้ แต่กลับมีผลต่อการจ่ายค่าไฟอย่างที่หลาย ๆ คนอาจไม่รู้มาก่อน
ดังนั้นผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย นอกจากจะต้องคำนวณเงินเดือนผ่อนบ้านหรือเตรียมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสองแล้วก็อาจยังต้องพิจารณาเรื่องค่า Ft อีกด้วยว่า ค่า Ft มีแนวโน้มเป็นอย่างไร หากค่า Ft สูงมากก็สามารถวางแผนค่าใช้จ่าย เพื่อประหยัดการใช้ไฟให้มากขึ้นได้
ค่า Ft ใครเป็นผู้กำหนด
เนื่องจากค่า Ft เป็นค่าที่คำนวณมาจากปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายในการซื้อไฟฟ้า ตลอดจนค่าใช้จ่ายโดยรวมของนโยบายที่รัฐบาลตัดสินใจทำ ทำให้ผู้กำหนดค่า Ft จึงเป็นหน่วยงานจากภาครัฐ นั่นคือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
โดยการกำหนดค่า Ft มีกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ให้มีการตั้งคณะกรรมการ กกพ. ทั้งหมด 7 คน เป็นประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการทั่วไปอีก 6 คน ซึ่งทั้ง 7 คนนี้จะต้องถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการสรรหาก็จะถูกเลือกโดยคณะรัฐมนตรีอีกทีหนึ่ง
หน้าที่ของคณะกรรมการกกพ. นอกจากจะต้องกำหนดค่า Ft ทุก ๆ 4 เดือนแล้ว ยังต้องกำหนดหลักเกณฑ์จัดหาไฟฟ้า ร่วมพัฒนาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า และตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและได้รับผลลัพธ์ที่น่าพอใจ เพื่อคงค่า Ft ให้อยู่ในจุดที่ควรจะเป็นต่อไปอีกด้วย
ค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง และค่า Ft คือส่วนไหน
ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA
เมื่อเรารู้กันไปแล้วว่าค่า Ft หมายถึงค่าไฟฟ้าผันแปร ที่ผ่านการกำหนดมาโดย กพพ. แล้วนอกจากค่า Ft ยังมีค่าอะไรอีกบ้างบนบิลค่าไฟที่เราควรสนใจ ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูล 5 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้ไฟฟ้า, ประวัติการใช้ไฟฟ้า, ค่า Ft, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้ไฟฟ้า
ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ และข้อมูลทั่วไปของบิลไฟฟ้าเป็นหลัก ได้แก่
- ชื่อนามสกุลของผู้ใช้ไฟฟ้า
- ที่อยู่ของผู้ใช้ไฟฟ้า
- หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า
- วันและเวลาที่วัดหน่วยไฟฟ้า
- เดือนที่มีการเรียกเก็บค่าไฟของบิลนี้
ซึ่งเป็นข้อมูลที่เราควรให้ความสนใจว่าเป็นบิลไฟฟ้าของเราถูกแล้วหรือไม่ มีการวัดในช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดบ้าง เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาว่าตรงกับการใช้ไฟฟ้าของเราจริง ๆ
ประวัติการใช้ไฟฟ้า
ประวัติไฟฟ้าก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เราควรให้ความสนใจไม่แพ้ค่า Ft เนื่องจากทำให้เราสามารถเทียบปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเราในเดือนปัจจุบันกับเดือนก่อนหน้าได้ และพบว่าบิลค่าไฟดังกล่าวสมเหตุสมผลกับการใช้งานจริงของเราหรือไม่ โดยจะแสดงจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ว่าใช้ไปกี่หน่วยบ้าง แบ่งเป็นเลขครั้งก่อนสำหรับการใช้ไฟฟ้าฐานในเดือนก่อน เลขครั้งหลังสำหรับค่าไฟฟ้าฐานในบิลปัจจุบัน และจำนวนที่ใช้เป็นส่วนต่างระหว่างสองครั้ง
ค่า Ft
ค่า Ft จุดที่เราควรจะสนใจในบิลค่าไฟ แม้จะเป็นเพียงตำแหน่งเล็ก ๆ ด้านซ้ายมือก่อนที่จะรวมเงินค่าไฟเท่านั้น โดยค่าไฟฟ้า Ft ที่เปลี่ยนไปจะบอกให้เรารู้ว่าควรปรับการใช้ไฟของตนเองอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าไฟพุ่งทะยานไปไกลกว่าที่คิด นอกจากนี้ยังทำให้ทราบถึงการดำเนินงานของรัฐบาลอีกด้วยว่ามีการควบคุมค่า Ft เป็นอย่างไรบ้าง ช่วยให้คุณเตรียมตัวพร้อมรับกับการวางแผนใช้ไฟในเดือนถัดไปได้
โดยค่า Ft จะมีการเปลี่ยนทุก 4 เดือน ดังนั้นหากค่า Ft เพิ่งเปลี่ยนไปคุณก็สามารถเตรียมพร้อมและปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าให้สอดคล้องไปกับค่า Ft ได้เลย แต่หากผ่านมาหลายเดือนแล้วคุณสามารถตรวจสอบค่า Ft ล่าสุดของเดือนที่จะถึงล่วงหน้าได้ เพื่อให้คุณไม่พลาดการเปลี่ยนแปลงของค่า Ft และไม่ต้องเสี่ยงค่าไฟเพิ่มอย่างไม่รู้ตัว
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อีกหนึ่งค่าถัดมาจากค่า Ft คือค่าสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคิดเป็น 7% จากการคำนวณหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับค่า Ft แล้ว จากนั้นจึงบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป แล้วจึงจะรวมเงินค่าไฟสุทธิต่อไป
ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
ค่าสุดท้ายที่เราควรให้ความสำคัญคือค่าที่ผ่านการคำนวณระหว่างหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ ค่า Ft และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มมาแล้ว นั่นก็คือรวมเงินค่าไฟฟ้าเดือนปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าเงินที่เราต้องชำระสำหรับบิลค่าไฟฟ้าในเดือนนี้เป็นราคาเท่าไหร่ โดยจะปรากฏให้เห็นถึง 2 ตำแหน่ง คือ ด้านหลังข้อความรวมเงินค่าไฟฟ้าเดือนปัจจุบัน และด้านหลังข้อความรวมเงินที่ต้องชำระ (Amount)
อัปเดตค่า FT ปีล่าสุด 2566
ขอขอบคุณรูปภาพจาก การไฟฟ้านครหลวง
ค่า Ft ปัจจุบันเป็นเท่าไหร่บ้าง พาดูค่า Ft ล่าสุดซึ่งเป็นค่า Ft 2566 รอบเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นค่า Ft ที่ผ่านการประชุมจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 มาแล้ว ว่าจะทำการปรับค่า Ft เป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยลดลงมาจากค่า Ft ในรอบเดือนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคมจาก 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ลงมาถึง 4.84 บาทต่อหน่วย
เรียกได้ว่าเป็นการปรับลดค่า Ft ที่หลาย ๆ ฝ่ายอาจจะคาดไม่ถึง เนื่องจากภายหลังช่วงสถานการณ์ COVID-19 ค่า Ft ก็มีการเพิ่มสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นการทดแทนคืนจากการลดค่า Ft ช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงสถานการณ์ดังกล่าวไป จึงเป็นแนวโน้มที่ดีแต่ก็ยังเป็นค่า Ft ที่อยู่ในช่วงที่ควรประหยัดไฟฟ้า เพื่อลดค่าไฟให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอยู่ดี
สรุป ค่า FT
เมื่อทำความรู้จักกับค่า Ft กันไปแล้วว่าเป็นค่าไฟฟ้าผันแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามการซื้อเชื้อเพลิง การซื้อไฟฟ้า หรือการใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งมีการกำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และยังได้รู้ค่า Ft ไฟฟ้า ปัจจุบันว่ามีค่า Ft เป็นกี่สตางค์ต่อหน่วย เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณเตรียมความพร้อมได้ทั้งผู้ที่มีบ้านอยู่แล้ว และประกอบการตัดสินใจสำหรับการซื้อบ้าน ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของบิลค่าไฟที่ค่า Ft จะได้เข้ามามีบทบาทอย่างแน่นอน