บทความความรู้เรื่องบ้าน อสังหาริมทรัพย์คืออะไร มีกี่ประเภท ต่างจากสังหาริมทรัพย์อย่างไร
บทความ
บทความความรู้เรื่องบ้าน

อสังหาริมทรัพย์คืออะไร มีกี่ประเภท ต่างจากสังหาริมทรัพย์อย่างไร

29 ตุลาคม 2565

 

 

อสังหาริมทรัพย์หมายความว่าอะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ทรัพย์สินอยู่ในพื้นที่และไม่อยู่ในพื้นที่ มีอะไรบ้าง ทาง The Best Property จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แต่ละลักษณะแบบชัดเจนให้กับผู้อ่านได้เข้าใจในบทความนี้ไปพร้อมๆกัน
 

อสังหาริมทรัพย์คืออะไร
 

อสังหาริมทรัพย์ (Real estate / Realty) คือ ที่ดินเปล่าและสิ่งปลูกสร้างที่ติดกับพื้นดินถาวร เช่น บ้านเรือนที่เป็นที่อยู่อาศัย หรือจะเป็นอาคารสำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม การเกษตร ให้ผู้ซื้อสามารถจับจองและซื้อ-ขายได้อิสระ โดยเงื่อนไขการเป็นเจ้าของ จะต้องอยู่ภายใต้การทำข้อตกลงกับผู้ขาย และเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การตกลงซื้ออาคารพร้อมที่ดินอสังหาในสัญญาหนังสือแบบลายลักษณ์อักษร การจดทะเบียนที่ดินในเอกสาร เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันความเป็นเจ้าของพื้นที่แปลงนั้นๆ เป็นต้น

เนื่องจากสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่นับเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง จึงต้องใช้กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายอย่างเข้มงวด เป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่ายได้ในภายหลัง 
 

ความแตกต่างระหว่างอสังหาริมทรัพย์กับสังหาริมทรัพย์
 

ลักษณะที่เห็นได้ชัดระหว่างอสังหากับสังหาริมทรัพย์ สามารถแจกจำแนกความแตกต่างได้ 5 ปัจจัยดังนี้

ตารางแสดงข้อแตกต่างของอสังหาริมทรัพย์กับสังหาริมทรัพย์
 

 

ลักษณะเด่นของอสังหาริมทรัพย์มีอะไรบ้าง
 

ด้วยราคาอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าใช้งานได้ในระยะยาว จึงทำให้การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีราคาแปรผันตาม 4 สภาวะ ดังนี้

มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกมากกว่าตัวทรัพย์สิน
 

การเปิดธุรกิจขายที่ดินเป็นอสังหา การปล่อยสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินสำหรับการลงทุน และการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไรในมูลค่าที่สูง จะขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งกับสภาวะเศรษฐกิจมากกว่าทรัพย์สินในพื้นที่ 

อสังหาริมทรัพย์ใช้ระยะเวลานานกว่าในการเปลี่ยนเป็นเงิน
 

การขายอสังหาริมทรัพย์คอนโด บ้าน หรืออาคารอื่นๆ ในระยะยาว อาจทำให้การได้เงินก้อนโตจากการขายค่อนข้างยาก เนื่องจากมีราคาสูง จนทำให้ผู้ซื้อจำเป็นต้องมีเงินจำนวนมาก หรือต้องผ่านการกู้ธนาคาร เพื่อนำเงินมาจ่ายซื้อทรัพย์สิน

ราคาอสังหาริมทรัพย์มักเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
 

มูลค่าทรัพย์สินสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ ส่งผลให้เจ้าของพื้นที่ปล่อยราคาขาย เช่า และฝากขายไว้ในระยะยาว เพื่อรอเศรษฐกิจแปรผันราคาให้มีมูลค่าสูงขึ้นได้

อสังหาริมทรัพย์มีอายุขัยยาวนาน
 

การถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินจะมีอายุการใช้งานถึง 50 - 100 ปี ทำให้เจ้าของพื้นที่สามารถใช้สอยจากการเช่า หรือการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างรายได้เข้าตัวได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว 
 

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์แบ่งตามการใช้สอย
 

ประเภทที่ดินอสังหาริมทรัพย์สำหรับการใช้สอย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

อสังหาริมทรัพย์เพื่อเกษตรกรรม
 

พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ เช่น ไร่นา สวน และพื้นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับการทำการเกษตรกรรม

อสังหาริมทรัพย์เพื่ออยู่อาศัย
 

พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด บ้านจัดสรร ห้องแฟลต สำหรับพักผ่อน

อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์
 

พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ตลาดนัด อาคารสำนักงาน สำหรับการดำเนินธุรกิจ

อสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม
 

พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงงานสำหรับอุตสาหกรรม โกดัง คลังเก็บสินค้า สำหรับการผลิต จัดเก็บ จัดจำหน่ายสินค้าและบริการ

อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักผ่อน
 

พื้นที่อสังหาริมทรัพย์ เช่น รีสอร์ต บ้านพักตากอากาศ สำหรับเป็นพื้นที่พักผ่อนแก่นักเดินทาง
 

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ตามนิยามจากประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139
 

ด้วยพระราชบัญญัติ มาตรา 139 ได้กล่าวไว้ว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การพาณิชย์ และเป็นพื้นที่พักผ่อน ต้องประกอบไปด้วยปัจจัย 3 อย่าง ดังนี้

ที่ดิน
 

ประเภทของที่ดินที่นับเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ พื้นที่ราบ ภูเขา หนอง คลอง บึง ห้วย บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ ชายทะเล และเกาะ เป็นต้น

ทรัพย์อันติดกับที่ดิน
 

ประเภททรัพย์อันติดกับที่ดินที่นับเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้านทุกประเภท อาคาร เป็นต้น

ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
 

ประเภททรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินที่นับเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ พื้นที่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างแม่น้ำ ลำคลอง พื้นดินกรวดทราย และแร่ธาตุในพื้นที่ที่ผู้ขายเป็นเจ้าของ ผู้ขายสามารถเก็งกำไรการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ให้กับอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ ไว้ใช้สอยพื้นที่ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ได้

นอกจากพื้นที่อสังหาริมทรัพย์จะต้องประกอบ 3 องค์ประกอบแล้ว ยังมีทรัพยสิทธิที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องแสดงหลักฐานในการยืนยันความเป็นเจ้าของอีกด้วย ได้แก่ เอกสารกรรมสิทธิ์ , เอกสารสิทธิครอบครอง , สัญญาภาระจำยอม , ใบสิทธิอาศัย , ใบสิทธิเหนือพื้นดิน , ใบสิทธิเก็บกิน , และสัญญาภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
 

สรุป
 

หากคุณอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แต่ละประเภทที่กล่าวไปข้างต้น หรือมีความสนใจเรื่อง การซื้อบ้าน เราสามารถให้ความรู้บ้านแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว และ บ้านชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่าง ทาวน์โฮม กับ ทาวน์เฮ้าส์ ต่างกันอย่างไร  เพื่อให้คุณเข้าใจความแตกต่างของอสังหาริมทรัพย์แต่ละชนิดได้มากยิ่งขึ้น 

สามารถปรึกษาอสังหาริมทรัพย์เชิงลึกกับ The Best Property นายหน้าขายบ้านที่ช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับความหมายอสังหาริมทรัพย์ได้ทุกลักษณะแบบมืออาชีพ สนใจติดต่อเบอร์โทร 02-047-4282 หรือแอดไลน์ @thebestproperty