กู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ต้องรู้เรื่องนี้ กู้ซื้อบ้านหลายหลังมีข้อกำหนดอะไรบ้าง
อยากกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ในที่ทำเลใหม่ หรือซื้อบ้านหลายหลังเพื่อเอามาลงทุนต่อยอดต่อ แต่ไม่รู้ข้อกำหนดการยื่นขอสินเชื่อกู้บ้านกับธนาคารว่ามีเงื่อนไขการทำสัญญาอย่างไรบ้าง ทาง The Best Property แหล่งรวมอสังหาริมทรัพย์จะมาอธิบายการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 และการซื้อบ้านหลายหลัง ว่ามีข้อกำหนดอะไรบ้าง
4 หลักสำคัญในการกู้บ้านหลังที่ 2 ให้ผ่าน
คุณสมบัติสำคัญที่ผู้กู้บ้านหลังที่ 2 ต้องมี เพื่อดำเนินธุรกรรมกู้ยืมกับธนาคารให้ผ่าน มีหลักสำคัญทั้งหมด 4 หลักการดังนี้
1.ตรวจสอบภาระหนี้ที่เหลืออยู่ของบ้านหลังเดิม
การขอสินเชื่อบ้านหลังที่สองกับธนาคาร ควรตรวจสอบภาระหนี้บ้านหลังแรกของผู้กู้ก่อน ว่าผู้กู้สามารถแบกรับยอดหนี้บ้านหลังแรก และยอดหนี้จิปาถะอื่นๆ อย่างค่าผ่อนเครื่องยนต์ ผ่อนบัตรเครดิต ที่รวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 60% ของเงินเดือนผ่อนบ้าน
หากยอดหนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนด มีโอกาสสูงที่ทางธนาคารจะไม่อนุมัติสินเชื่อกู้บ้านหลังที่ 2 ให้กับผู้กู้
2.ตรวจสอบความพร้อมทางการเงินของผู้กู้
ผู้กู้ที่พร้อมดำเนินการกู้บ้านหลังที่ 2 สามารถยื่นสินเชื่อกับผู้ขายและสถาบันการเงินที่ร่วมพาร์ทเนอร์กับเจ้าโครงการได้เลย โดยเจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์จะเป็นผู้ตรวจเช็คเงื่อนไขจากข้อมูลการชำระค่าบ้านหลังที่ 1 และประเมินความสามารถชำระหนี้ของผู้กู้ในการทำสินเชื่อบ้านหลังที่ 2
โดยความสามารถในการชำระหนี้นี้ จะคิดจากยอดชำระที่ผู้กู้ผ่อนบ้านหลังที่ 1 และระยะเวลาชำระหนี้ ร่วมกับการตรวจประวัติติดเครดิตบูโร, ความสามารถในการแบกรับหนี้ที่ไม่เกิน 60% ของเงินเดือน, และคุณสมบัติอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้กู้จะมีความสามารถกู้บ้านหลังที่ 2 ได้โดยไม่มีปัญหาในภายหลัง
เช็คความสามารถในการผ่อนได้ที่บทความ คํานวณความสามารถในการผ่อนบ้าน
3.หาผู้กู้ร่วม
การกู้ร่วมซื้อบ้าน คือการทำสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ที่ผู้ซื้อทำสัญญากู้ยืมร่วมกับบุคคลที่มีคุณสมบัติในการแบกรับภาระหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ในการจัดการบ้านทั้งคู่ ซึ่งวิธีนี้จะสามารถแบ่งเบาภาระหนี้ที่ต้องชำระต่อคนได้
หากต้องการโอนสิทธิ์กู้ร่วม หรือขายบ้านออกไป ผู้ซื้อต้องได้รับความยินยอมของผู้กู้ร่วมในการยืนยันก่อนเสมอ อีกทั้งในระหว่างการโอนอาจมีค่าธรรมเนียมที่ทั้งคู่ต้องชำระ ได้แก่ ค่าโอน , ค่าจดจำนอง , ค่าอากรแสตมป์หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ, และภาษีเงินได้ ในวันที่กำหนดจ่าย
4.รายละเอียดวางเงินดาวน์ กู้ซื้อบ้านหลังที่ 2
การดำเนินเรื่องการกู้บ้านหลังที่ 2 จะแบ่งรายละเอียดเงื่อนไขการกู้ได้ดังต่อไปนี้
กู้บ้านหลังที่ 2 ในราคาซื้อต่ำกว่า 10 ล้านบาท
- ในกรณีกู้ซื้อบ้านหลังที่ 1 มาได้มากกว่า 2 ปีเป็นต้นไป ผู้ที่กู้อาคารบ้านประเภท คอนโด บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านประเภทอื่น สามารถกู้ได้สูงสุด 100%
- ในกรณีกู้ซื้อบ้านหลังที่ 1 มาได้ไม่เกิน 2 ปี ควรวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 20% ตามที่ธนาคารได้กำหนดไว้ในข้อสัญญา
กู้บ้านหลังที่ 2 ในราคาซื้อสูงกว่า 10 ล้านบาท
- ผู้กู้ควรวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 20%
มาตรการ LTV ประจำปี 2565 ปรับมาตรการใหม่ เอื้อต่อการซื้อบ้านหลังที่ 2
ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศใช้มาตรการ LTV (loan to value ratio) เกี่ยวกับการกู้ซื้อบ้านในเงื่อนไขฉบับใหม่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนลดภาระรายจ่าย กระตุ้นการซื้อ-ขาย ให้เกิดการลงทุน ต่อยอด เก็งกำไรต่อได้
เมื่อกู้บ้านในขณะที่มีการบังคับใช้มาตรการ LTV จะทำให้เพดานกู้อยู่ที่ 100% เมื่อกู้ซื้อบ้านหลังที่ 1 - 3 ทำให้ไม่ต้องวางเงินดาวน์ก่อนเลยนั่นเอง
กู้ซื้อบ้านหลายหลังได้สินเชื่อแบบไหน
ในกรณีที่กู้ซื้อบ้านหลายหลัง จะถูกบังคับใช้มาตรการ LTV เช่นกัน โดยการกู้ซื้อบ้านตั้งแต่หลังที่สี่ขึ้นไป จะใช้เกณฑ์การปล่อยสินเชื่อเหมือนกันทั้งหมด คือจะปล่อยสินเชื่อที่เพดาน 70% และจะต้องวางเป็นเงินดาวน์ขั้นต่ำที่ 30%
สรุป
หากคุณต้องการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 หรือซื้อบ้านหลายหลัง ควรจัดเตรียมเอกสารในการยื่นสัญญากับธนาคารอย่างถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบหลักฐานเงินเดือน เครดิตบูโร ประวัติส่วนตัว และอื่นๆ เพื่อให้ขั้นตอนระหว่างการตรวจเช็คข้อมูล สามารถดำเนินการโดยไม่มีอะไรต้องติดขัด