กู้ร่วมซื้อบ้าน คืออะไร ผ่านง่ายจริงไหม ต้องรู้อะไรบ้าง
อยากกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่มีข้อบังคับในการทำข้อตกลงกับธนาคารอย่างเคร่งครัด ที่ทางผู้ทำสินเชื่อต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างไรบ้าง แล้วกู้ร่วมซื้อบ้านได้กี่คน? และการกู้ร่วมคอนโดกับกู้ร่วมบ้าน มีรูปแบบการดำเนินการแตกต่างมากน้อยแค่ไหน?
ทาง The Best Property จึงนำเสนอเนื้อหาการกู้ร่วมซื้อบ้าน ให้กับผู้ทำสินเชื่อเรื่องบ้านแบบฉบับกระทัดรัด เข้าใจง่าย สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ได้จริง พร้อมอธิบายหลักการกู้ร่วมซื้อบ้านแบบครบวงจรได้ในบทความนี้
การกู้ร่วมซื้อบ้าน-กู้ร่วมซื้อคอนโดคืออะไร
กู้ร่วมซื้อบ้าน คือ ผู้ที่มีความต้องการซื้อทรัพย์สินในราคาที่สูงอย่างบ้าน คอนโด ฯลฯ มีความต้องการชำระหนี้ค่าใช้จ่ายร่วมกับบุคคลอื่นด้วยกัน โดยมีเงื่อนไขที่คู่ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้กู้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ พี่น้อง คู่สมรส หรือญาติ ในการแบ่งเบาภาระหนี้ก้อนโตร่วมกัน เพราะการกู้ร่วมซื้อบ้านช่วยกระจายความเสี่ยงค่าใช้จ่ายของผู้กู้แล้ว ยังให้การกู้ซื้อบ้านร่วมผู้อื่นสามารถทำเรื่องสินเชื่ออื่น ๆ กับธนาคารง่ายมากขึ้น
กู้ร่วมซื้อบ้านแก้ปัญหากู้คนเดียวไม่ผ่าน
การหาผู้กู้ร่วมบ้านช่วยแก้ปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้านคนเดียวไม่ผ่าน เนื่องจากผู้ทำสินเชื่อส่วนใหญ่ที่ทำเรื่องกู้ซื้อบ้านคนเดียวแล้วทางธนาคารไม่ยิมยอมการอนุมัติทำเรื่อง เกิดจากปัจจัยได้จาก ผู้กู้มีรายได้น้อยเกินไปในการชำระกู้ในแต่ละเดือน มีหนี้ชำระค้างจนติดเครดิตบูโร หรือเนื้อหาข้อมูลในบัตรมีเครดิตไม่เพียงพอที่ควรจะทำสัญญาร่วมกันได้ จึงทำให้การกู้ร่วมซื้อบ้านกับบุคคลที่สาม ที่มีรายได้ที่มั่นคงพร้อมได้รับประวัติการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอ จึงช่วยเพิ่มเครดิตความน่าเชื่อถือให้ทางสถาบันการเงินยอมรับการทำสัญญายื่นกู้ซื้อบ้านกู้ร่วมสำเร็จ
การกู้ร่วมซื้อบ้าน จึงให้ประโยชน์แก่ผู้ทำสินเชื่อ ดังนี้
- เพิ่มโอกาสการทำอนุมัติสินเชื่อกับธนาคารง่ายมากขึ้น
- ช่วยลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายหนี้สะสมแก่ผู้กู้
- ได้รับการเพิ่มวงเงินจากธนาคารมากขึ้น
ผู้กู้ร่วมซื้อบ้านเป็นใครได้บ้าง
เงื่อนไขการหาผู้กู้ซื้อบ้านร่วมกัน จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้กู้ดังนี้
- บุคคลที่จะทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้าน ควรมีนามสกุลเดียวกันกับผู้กู้ด้วยกัน เช่น พ่อแม่ คู่สมรส หรือญาติพี่น้อง
- หากทำกู้รวมซื้อบ้านกับพี่น้องแต่คนละนามสกุล ควรโชว์หลักฐานยืนยันตัวตนด้วยใบสูติบัตรที่มีรายละเอียดการเกิดจากมิดามารดาคู่เดียวกัน
- สามี-ภรรยาที่มีความต้องการกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกัน แต่ไม่ได้จดทะเบียนหรือทำการจดใบทะเบียนสมรสเรียบร้อย ทางธนาคารมีข้อบังคับให้แสดงหลักฐานยืนยันตัวตนเป็นสามี-ภรรยาร่วมกัน เช่น รูปแต่งงาน การ์ดแต่งงาน หนังสือรับรองบุตร เป็นต้น
- บุคคลที่มีสถานะคบกัน มีความต้องการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ยังไม่ได้แต่งงาน เช่น คู่รักชาย-หญิง และ คู่รัก LGBTQ+ ทางธนาคารจะทำการอนุมัติการกู้ร่วมซื้อบ้านโดยดูคุณสมบัติของผู้กู้ตั้งแต่ อายุ รายได้ วงเงินกู้ ภาระหนี้อื่น ๆ ในการประเมินความสามารถการชำระเงินโดยรวม พร้อมสรุปว่าควรทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันหรือไม่
คุณสมบัติของผู้กู้ร่วมซื้อบ้านมีอะไรบ้าง
โดยทั่วไป ปัจจัยหลักสำคัญของผู้กู้ร่วมซื้อบ้านที่ควรมีหลัก ๆ มีดังนี้
- เป็นบุคคลที่มีรายได้ตามมาตรฐานทางธนาคารกำหนดไว้ตามสากล เช่น ผู้ที่จะทำเรื่องกู้ร่วมซื้อบ้านและคู่ทำสัญญา ควรมีเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท/เดือน เป็นต้นไป
- ผู้กู้ร่วมซื้อบ้านและคู่ทำสัญญา ไม่ควรมีหนี้ภาระมากเกินไป พร้อมกับไม่มีประวัติค้างชำระหนี้ในเครดิตบูโร
- คู่ทำกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือ ทำการกู้ร่วมซื้อคอนโดด้วยกัน ต้องสัญชาติไทย และอายุ 20 ปีบริบูรณ์
- บุคคลที่ทำงานประจำ ควรมีประวัติอายุการทำงาน 6 เดือนเป็นต้นไป
- บุคคลที่ทำงานธุรกิจส่วนตัว ต้องมีประวัติอายุการทำงานกิจการ 1 ปี เป็นต้นไป
ข้อควรระวังในการกู้ร่วมซื้อบ้าน
สิ่งสำคัญในการกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่ทำสัญญาด้วยกัน ควรรู้ความเสี่ยงการรับภาระหนี้ โดยมี 4 ปัจจัยสำคัญที่ผู้กู้และคู่ทำสัญญาควรรู้ ดังต่อไปนี้
การกู้ร่วมซื้อบ้านต้องรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน
ทางธนาคารจะทำการประเมินคุณสมบัติของผู้กู้ร่วมซื้อบ้านทั้ง 2 คนในการพิจารณาตัดสินคุณสมบัติด้วยกัน บางกรณีที่ทางธนาคารให้ผ่านการอนุมัติไปเรียบร้อย บางคู่ที่กู้ร่วมซื้อบ้านบางรายอาจมีการขัดแย้งทางด้านการรับผิดขอบหนี้ เช่น มีเงินไม่พอจ่าย หรืออยากยกเลิกสัญญา ธนาคารจะพิจารณาการถอนชื่อการกู้ร่วมบ้านให้ผู้กู้คนเดียวนั้น เป็นโอกาสการอนุมัติสำเร็จที่ต่ำ เนื่องจากผู้กู้ร่วมซื้อบ้านคนเดียวมีเงินในการหมุนเวียนจ่ายสินเชื่อไม่พอ ทางธนาคารอาจปฏิเสธการถอดถอนคู่ทำสัญญา แล้วยึดใบที่ดินขายบ้านทิ้งสู่สาธารณะได้
การกู้ร่วมซื้อบ้านอาจทำให้การกู้ครั้งต่อไปยากกว่าเดิม
ในกรณีที่ผู้ทำกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่สัญญาในปัจจุบันยังไม่หมด แต่มีความต้องการกู้สินเชื่อทรัพย์สินชิ้นใหม่ร่วมกับคนอื่นหรือคนเดียวกันนั้น ธนาคารจะไม่ยินยอมการอนุมัติเด็ดขาด เนื่องจากการทำกู้ร่วมซื้อบ้านฉบับเก่ายังชำระหนี้ไม่ครบกำหนด ทำให้การยื่นเรื่องทำสัญญาใหม่มีโอกาสสำเร็จที่ถูกปฎิเสธสูง
การกู้ร่วมซื้อบ้าน ทำให้บ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของทั้งสองคน
หากการดำเนินกระบวนการกู้ร่วมซื้อบ้านสำเร็จ ทรัพย์สินที่ทำการยื่นสินเชื่อไป จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคู่ทำสัญญาด้วยกันทั้งสองคน หากผู้กู้ร่วมคนใดคนหนึ่งต้องการขายบ้าน หรือถอนสิทธิ์การกู้ร่วมซื้อบ้าน ต้องมีความจำเป็นต้องรอการยิมยอมของอีกฝ่าย ถึงจะดำเนินเรื่องยกเลิกสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านกับธนาคารสำเร็จ
การกู้ร่วมซื้อบ้านทำให้สิทธิการลดหย่อนภาษีต้องหารกัน
หนึ่งในการกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันที่ได้รับประโยชน์คือ ผู้กู้ทั้งสองสามารถนำดอกเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้ โดยราคาเฉลี่ยการลดหย่อนภาษี จะต้องหารราคาเฉลี่ยตามจำนวนของผู้ด้วยกัน เช่น การลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท ผู้กู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่ทำสัญญา สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อน 15,000 บาท/คนเท่านั้น
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อใช้สำหรับการกู้ร่วม
การเตรียมเอกสารสำหรับการกู้ร่วมซื้อบ้าน หากผู้ทำเรื่องเตรียมหลักฐานยืนยันตัวตนได้ครบถ้วน จะช่วยทำให้ทางธนาคารสามารถดำเนินเรื่องการอนุมัติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมี 3 เอกสารสำคัญในการกู้ร่วมซื้อบ้าน ต่อไปนี้
เอกสารส่วนตัว
- ใบสำเนาทะเบียนประชาชน
- ใบสำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบเอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
- ใบเอกสารทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
เอกสารการเงิน
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- สลิปสรุปเงินเดือน
- ใบแจ้งเงินเดือน (salary statement) ย้อนหลัง 6 เดือน
เอกสารสินทรัพย์
- สำเนาการซื้อ-ขาย
หากไม่ต้องการกู้ร่วมกันแล้วต้องทำอย่างไร
ในกรณีผู้กู้ร่วมซื้อบ้านกับผู้ทำสัญญา ไม่มีความต้องการจำชำระหนี้ร่วมกันอีกต่อไป สามารถทำเรื่องเบิกถอนชื่อให้ทางธนาคารพิจารณาตัดสิน ในการดำเนินเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านแบบกู้ร่วมซื้อบ้านแบบเดี่ยว หรือผู้กู้สามารถตัดกรรมสิทธิ์เจ้าของบ้านให้ทางธนาคารตัดสินเป็นทรัพย์สินเครือข่าย NPA (ทรัพย์สินรอการขาย) แก่ผู้ซื้อรายใหม่
การกู้ร่วมต่างจากการค้ำประกันอย่างไร
ผู้กู้ส่วนใหญ่ มักคิดว่าการทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านคือการเซ็นต์หลักฐานค้ำประกัน แต่ในความเป็นจริง ทั้ง 2 บริบท มีความหมายแตกต่างโดยสิ้นเชิง ดังนี้
การกู้ร่วม
การกู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกัน คือการรับผิดชอบการชำระหนี้สินเชื่อกับผู้ทำสัญญาร่วมกัน โดยมีเงื่อนไขที่ผู้ทำสินเชื่อต้องเกี่ยวข้องกับผู้ทำสัญญาร่วมสายเลือดเท่านั้น
การค้ำประกัน
บุคคลที่ถูกการค้ำประกันกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือสินเชื่ออื่นๆ คือบุคคลที่ต้องชำระหนี้แทนผู้ทำสินเชื่อแทน แต่หากในกรณีที่ผู้ทำสินเชื่อ เป็นคนที่ทำผิดเงื่อนไขทางธนาคารได้ระบุข้อกำหนดไว้เพียงผู้เดียว ธนาคารสามารถตัดสินปัญหาภาระการเงินให้กับผู้ค้ำประกันหรือตัดสัมพันธ์ได้