บทความความรู้เรื่องบ้าน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างล่าสุด ปี 2566 ใครต้องเสียบ้าง เสียเท่าไหร่ ไม่จ่ายได้ไหม
บทความ
บทความความรู้เรื่องบ้าน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างล่าสุด ปี 2566 ใครต้องเสียบ้าง เสียเท่าไหร่ ไม่จ่ายได้ไหม

30 ตุลาคม 2565

 

ภาษีที่ดินคืออะไร อัตราค่าใช้จ่ายของที่ดินแต่ละที่ดินมีกี่ระดับ แล้วภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหมายถึงภาษีที่ต้องชำระให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีกี่ประเภท ทาง The Best Property จึงมาอธิบายข้อกำหนดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างล่าสุด ปี 2566 ให้แก่เจ้าของบ้านที่ต้องเสียภาษีส่วนนี้ว่ามีอะไรบ้าง

 

ทำความรู้จักกับความหมายของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตาม พรบ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร
 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่เจ้าของบ้านที่เป็นผู้ถือครองในปัจจุบันต้องจ่ายตามมูลค่าทรัพย์สิน ให้เป็นกองทุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล กรุงเทพมหานคร หรือเมืองพัทยา เพื่อเป็นเงินสำรองนำมาพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางสำหรับชุมชน ให้มีการใช้งานบริการที่เข้าถึงได้ ใช้งานได้ระยะยาว มีคุณภาพการใช้งานที่ดีขึ้น โดยเงินค่าภาษีที่ดิน ไม่ต้องจำเป็นต้องส่งให้กับทางรัฐบาล ผู้บริหารฝ่ายชุมชนสามารถจัดการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในละแวกบ้าน เพื่อนำมาพัฒนาชุมชนได้เต็มที่  

ทำไมต้องเสียภาษีที่ดิน
 

ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ต้องจ่ายภาษีที่ดิน เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี พ.ศ. 2562 โดยเจ้าของบ้านแต่ละชุมชน ต้องมีงบประมาณให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมาพัฒนาพื้นที่ส่วนกลางสาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดำเนินการปรับโครงสร้างพื้นที่สาธารณะให้ทันสมัย และมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน

ผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคือใคร ดูจากอะไร
 

ตามกฎหมายแล้ว ผู้ถือครองทรัพย์สินอาคารทุกรูปแบบทั้ง บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดห้องชุด รวมถึงผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของภาครัฐ จะเป็นบุคคลรับผิดชอบจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ในกรณีที่ผู้ถือครองเสียชีวิต คนในครอบครัวหรือญาติ เช่น ผู้จัดการมรดก ทายาท ผู้จัดการทรัพย์สินในครอบครัว จะเป็นคนชำระแทน

 

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษีที่ดิน มีอะไรบ้าง
 

ที่ดินที่ต้องประเมินมูลค่าเพื่อจ่ายภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้าง มีดังนี้

  • ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ภาคเอกชน
  • ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ภาครัฐบาล
  • เจ้าของที่ดินที่แสวงหากำไรในเขตทรัพย์สินของรัฐ

 

รวมลิสต์กลุ่มคนที่ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 

บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายภาษีตามพระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2566 ล่าสุด มีดังต่อไปนี้

  • เจ้าของที่ดินสิ่งปลูกสร้างบ้านหลังแรกในราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • เจ้าของที่ดินผืนแรก และบ้านหลังแรกอย่างเดียว ในราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท
  • บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของพื้นที่การเกษตร ในราคาที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • เจ้าของบ้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ลงทะเบียนโฉนดที่ดินหลังวันที่ 1 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป 
  • ผู้เช่า ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านประเภท บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโดกับเจ้าของบ้าน ในกรณีที่ไม่มีรายชื่อจดทะเบียนในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

ที่ดินรกร้างว่างเปล่าต้องจ่ายภาษีไหม ลดหย่อนภาษีที่ดินต้องทำอย่างไร
 

ภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีความจำเป็นต้องจ่ายภาษีตามมูลค่าราคาที่ดินเท่าไหร่ หากต้องการลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

ภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า
 

อัตราภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า แบ่งมูลค่าราคาภาษีที่ดินจากทรัพย์สินเป็น 0.3 - 0.7% ดังนี้

  • ราคาภาษีที่ดินว่างเปล่ามูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีที่ดินเปล่า 0.3%
  • ราคาภาษีที่ดินที่ว่างเปล่ามูลค่ามากกว่า 50 - 200 ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีที่ดินเปล่า 0.4%
  • ราคาภาษีที่ว่างเปล่ามูลค่ามากกว่า 200 - 1,000 ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีที่ดินเปล่า 0.5%
  • ราคาภาษีที่ว่างเปล่ามูลค่ามากกว่า 1,000 - 5,000 ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีที่ดินเปล่า 0.6%
  • ราคาภาษีที่ดินว่างเปล่ามูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท ต้องจ่ายภาษีที่ดินเปล่า 0.7%
     

การลดหย่อนภาษีที่ดิน
 

เนื่องจากกฎกระทรวงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก่อนปี 2566 ได้มีการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถึง 90% ทำให้รายได้ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่สามารถนำเงินหมุนเวียนบริหารภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทางรัฐบาลจึงตั้งข้อกำหนดการเก็บภาษีที่ดินที่อยู่อาศัย ในเรทราคาเต็มจำนวนเหมือนเดิม แต่ในกรณีที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาหรือมีที่ดินรกร้างประกอบเกษตรกรรม จะไม่ต้องเสียภาษีสิ่งปลูกสร้างและที่ดินเพิ่มทุกกรณี

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นภาษีมีอะไรบ้าง
 

มูลค่าทรัพย์สินที่ถูกได้รับการยกเว้นการจ่ายภาษี มี 11 ประเภทดังนี้

  1. ภาษีขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐวิสาหกิจ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
  2. ภาษีที่ดินรกร้างเปล่าของสนามบิน ที่ใช้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
  3. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับพื้นที่ทางรถไฟกับรถไฟฟ้า
  4. ที่ดินภาษีสำหรับสาธารณูปโภคที่ใช้ประโยชน์ร่วมกับโครงการของการเคหะแห่งชาติ
  5. ภาษีสิ่งปลูกสร้างสำหรับบ่อน้ำเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่สาธารณะ และบำบัดน้ำเสียจากอาคาร 
  6. ภาษีสิ่งปลูกสร้างสำหรับทำพื้นที่ถนน ลาน และรั้ว
  7. ทรัพย์สินที่ดินภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายที่กำหนดไว้
  8. ทรัพย์สินที่ดินของสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ เพื่อเป็นพื้นที่ประชุมข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและต่างประเทศ
  9. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของเอกชนที่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ให้ความรู้ในพื้นที่สาธารณะ
  10. ภาษีอาคารและสิ่งปลูกสร้างในนามของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใช้ในราชการ เพื่อใช้การประกอบศาสนกิจ

 

ไม่จ่ายภาษีที่ดินได้ไหม ถ้าไม่จ่ายจะเกิดอะไรขึ้น
 

หากทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทำการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วแจ้งกับเจ้าของบ้านแล้ว ไม่จ่ายภาษีที่ดินตามเวลาที่กำหนด จะมีการปรับโทษ 3 รูปแบบดังนี้ 

เบี้ยปรับ
 

กรณีเจ้าของบ้านชำระค่าฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ครบตามเวลาที่กำหนด จะแบ่งเป็น 3 เคสดังนี้

  • ผู้จ่ายได้รับหนังสือแจ้งเตือนการชำระภาษี แต่เบี้ยวชำระการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามกำหนด จะถูกปรับ 40% ของราคาที่ชำระหนี้ที่เหลือ
  • ผู้จ่ายได้รับหนังสือแจ้งเตือนการชำระภาษี และไม่ได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา แต่ชำระภายในเวลาที่อยู่ในหนังสือแจ้งเตือน จะถูกปรับ 20% ของราคาที่ชำระหนี้ที่เหลือ
  • ผู้จ่ายไม่ได้ชำระภาษีในเวลาที่กำหนด แต่ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งเตือนการชำระภาษี จะถูกปรับ 10% ของราคาที่ชำระหนี้ที่เหลือ
     

เงินเพิ่ม
 

เงินเพิ่มคือ ดอกเบี้ยของอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จ่ายช้ากว่ากำหนด โดยคิดค่าปรับเป็น 1% ต่อเดือน แต่หากได้รับข้อเสนอขยายเวลาชำระภาษีที่ต้องจ่ายในเวลานั้น ดอกเบี้ยที่ถูกปรับเพิ่มจะลดลงเป็น 0.5% ต่อเดือน 

โทษทางอาญา
 

ผู้ชำระนำหลักฐานเท็จมายืนยันการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทุกการทุจริต ทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะปรับโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี พร้อมปรับเงิน 40,000 บาท ยกเว้นแต่ใบแจ้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนิติบุคคลเป็นคนกระทำผิดเอง จะมีการตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากความผิดเป็นฝ่ายนิติบุคคลจริง จะถูกลงโทษตามกฎเช่นเดียวกัน

วิธีคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 

การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ละประเภทมีดังนี้

  • ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
  1. ต้องหามูลค่าที่ดินของสินทรัพย์ก่อน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
  2. เมื่อได้มูลค่าที่ดินแล้วนำคำตอบมาคำนวณ สูตรภาษีที่ต้องชำระ = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี 
     
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  1. ต้องหามูลค่าที่ดินของสินทรัพย์ก่อน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
  2. หามูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) - ค่าเสื่อมราคา
  3. เมื่อได้มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วนำคำตอบมาคำนวณ สูตรภาษีที่ต้องชำระ = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
     
  • ห้องชุด
  1. ต้องหามูลค่าที่ดินของสินทรัพย์ก่อน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)
  2. เมื่อได้มูลค่าที่ดินแล้วนำคำตอบมาคำนวณ สูตรภาษีที่ต้องชำระ = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี

 

ขั้นตอนและวิธีการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 

วิธีการดำเนินขั้นตอนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1. อปท.จะส่งเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจทรัพย์สินพื้นที่เจ้าของบ้าน โดยมีระยะเวลาคำนวณมูลค่าประมาณ 15 วัน 

  1. วัดขนาดของที่ดินด้วยหน่วยตารางวาแบบเต็มแปลน
  2. วัดขนาดสิ่งปลูกสร้างด้วยหน่วยที่ตั้งอยู่บนดินทั้งหมดด้วยหน่วงตารางเมตร
  3. ทำการสำรวจอายุประเภท ลักษณะของทรัพย์สิน
     

2. สรุปราคาทั้งหมดแล้วลงบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่จำนวน ประเภทของขนาดที่ดินสิ่งปลูกสร้าง แก่ผู้ต้องเสียภาษีเป็นรายบุคคล

3. เจ้าหน้าที่ดำเนินเร่งรัดภาษีค้างชำระ กับผู้ที่ยังไม่จ่ายตามงวดที่กำหนด

4. ในกรณีผู้จ่ายทำการคัดค้าน อุทธรณ์ ต้องการฟ้องคดีภาษี มียอดชำระที่ไม่ถูกต้องหรือปัญหาอื่นๆ สามารถชี้แจงกับผู้บริหารท้องถิ่นภายใน 30 วันหลังได้รับใบแจ้งจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

ชำระภาษีที่ดินได้ที่ไหน
 

ผู้ชำระสามารถจ่ายภาษีที่ดินบ้านหลังแรก ภาษีที่ดินคอนโด ภาษีที่ดินใหม่ ภาษีที่รกร้างว่างเปล่า และภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ที่สำนักเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ , ชำระผ่านตู้ผ่านตู้ ATM หรือจ่ายออนไลน์กับธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขา

แบบประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประกอบด้วยอะไรบ้าง
 

แบบประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประกอบข้อมูล 4 ส่วนดังนี้

1. รายการที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

2. ราคาประเมินทุนทรัพย์

3. อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

4. จำนวนยอดภาษีที่ต้องชำระทั้งหมด

หากจ่ายภาษีที่ดินเกิน ขอคืนเงินภาษีได้ไหม ต้องทำอย่างไร
 

สามารถยื่นเรื่องการคืนภาษีผ่าน เว็บไซต์ของกรมสรรพากร จากนั้นเลือกเมนู e-Refund สอบถามการคืนภาษี แล้วเลือกปีภาษีที่ต้องการค้นหา พร้อมกรอกชื่อ,สกุล เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขผู้เสียภาษีอากร​ โดยระบบจะแสดงปีภาษีให้คัดค้นได้ย้อนหลัง 2 ปีภาษี เสร็จแล้วให้ผู้จ่ายดำเนินเอกสารส่งผ่านไปรษณีย์ หรือส่งผ่านระบบดิจิตอลในเว็บไซต์เดิม และระบุจำนวนแผ่นของเอกสารที่นำส่ง พร้อมระบุหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ แล้วเจ้าหน้าที่จะดำเนินชี้แจงช่องทางการคืนเงินธนาคารกรุงไทยภายหลัง 

อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดิน
 

อัตราจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภทประจำปี 2566 มีทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม
 

บุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในฐานะบุคคลธรรมดา จะไม่เสียค่าภาษีที่ดินที่มีมูลค่า 50 ล้านบาท

สัดส่วนการคิดมูลค่าที่ดินด้านเกษตรกรรม

  • ภาษีที่ดินมูลค่า 0 – 75 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.01% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 7,500 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.03% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.05% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 250,000 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 500 – 1,000 ล้าน คิดอัตราภาษี 0.07% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 700,000 บาท
  • 1,000 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.1% ซึ่งภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี 1 ล้านบาทขึ้นไป
     

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ด้านที่อยู่อาศัย
 

แบ่งสัดส่วนการคิดมูลค่าที่ดินออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

บุคคลที่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง ในฐานะบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

  • ภาษีที่ดินมูลค่า 0 – 40 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.02% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 8,000 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 40 – 65 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.03% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 19,500 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 65 – 90 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.05% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 45,000 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 90 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.1% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี 90,000 บาทขึ้นไป
     

บุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในฐานะบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

  • ภาษีที่ดินมูลค่า 0 – 25 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.03% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 7,500 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 25 – 50 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.05% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 25,000 บาท
  • ภาษีที่ดินมูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.1% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี 50,000 บาทขึ้นไป
     

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ
 

แบ่งสัดส่วนการคิดมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ ดังนี้

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.3% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.4% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 800,000 บาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.5% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 5 ล้านบาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.6% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.7% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 35 ล้านบาทขึ้นไป 
     

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทิ้งไว้ว่างเปล่า
 

ภาษีที่รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้สร้างเพื่อประโยชน์อะไร แบ่งสัดส่วนการคิดมูลค่า ดังนี้

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.3% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 50 – 200 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.4% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 800,000 บาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 200 – 1,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.5% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 5 ล้านบาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 1,000 – 5,000 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.6% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 30 ล้านบาท
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 5,000 ล้านขึ้นไป คิดอัตราภาษี 0.7% ซึ่งมีภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี ไม่เกิน 35 ล้านบาทขึ้นไป