บทความสาระน่ารู้ เช็กรายการลดหย่อนภาษี 2566 อัปเดตล่าสุด มีอะไรบ้าง
บทความ
บทความสาระน่ารู้

เช็กรายการลดหย่อนภาษี 2566 อัปเดตล่าสุด มีอะไรบ้าง

14 กรกฎาคม 2566

 

 

เตรียมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ให้พร้อม เนื่องจากการยื่นเอกสารลดหย่อนภาษี 2566 ล่าสุดสามารถดำเนินการยื่นลดหย่อนภาษีทางเว็บไซต์ได้เลย แล้วรายการลดหย่อนภาษีล่าสุดมีอะไรบ้าง มีขั้นตอนการใช้งานอย่างไร เข้าระบบกรมสรรพากรได้ทางเว็บไหน ทาง The Best Property จะมาช่วยไกด์ไลน์ผู้ที่อยากดำเนินเรื่องลดหย่อนภาษี ให้เตรียมเอกสารให้พร้อมยื่น เข้าใจง่าย สามารถทำด้วยตัวเองได้เลย

ลดหย่อนภาษี คืออะไร

 

การลดหย่อนภาษี คือสิทธิประโยชน์ช่วยหักค่าใช้จ่ายในเรื่องภาษี โดยรายการลดหย่อนภาษี ทางกรมสรรพากรจะเป็นผู้กำหนด หากเราใช้จ่าย ทำธุรกรรม หรือมีคุณสมบัติตามรายการดังกล่าว สรรพากรจะลดหย่อนภาษีให้ แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภาษีให้น้อยลง ซึ่งปัจจุบันค่าลดหย่อนภาษี 2566  มีอะไรที่ควรรู้บ้าง มาเช็กเนื้อหาในพาร์ทต่อไปกัน 

สิ่งที่ควรรู้! ก่อนลดหย่อนภาษี 2566

 

มาตรการสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี ปี 2566  ได้อธิบายไว้ว่า 

“ผู้ที่มีรายได้จากการรับเงินเดือน โบนัส ค่าจ้างต่อปีเกิน 120,000 บาท จะต้องส่งเอกสารยื่นภาษีได้บุคคลธรรมดา เริ่มต้น 5% แล้วจะสูงขึ้นตามยอดเงินสะสมต่อปีแบบขั้นบันได โดยมีเงื่อนไขคือ ยอดเงินได้สุทธิ ต้องหักลบรวมกับเงินได้ทั้งปี, หักค่าใช้จ่าย และหักค่าลดหย่อนภาษี ทั้งหมดรวมกันต้องเกิน 120,000 บาท แต่หากคำนวณแล้วยอดเงินไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ บุคคลนั้นจะได้รับการละเว้นภาษี”

ดังนั้นใครคำนวณแล้วว่ามีรายได้เกินเกณฑ์ เตรียมเอกสารยื่นภาษีไว้ให้พร้อมได้เลย ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมนั้น นอกจากเอกสารแสดงรายได้แล้ว ยังต้องมีเอกสารขอลดหย่อนภาษีด้วยเพื่อให้ภาษีที่ต้องจ่ายน้อยลง โดยรายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

รายการลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง

 

รายการลดหย่อนภาษี 2566 อัปเดตล่าสุดมีดังนี้ 

ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

 

รายการลดหย่อนภาษี 2566 หมวดส่วนตัวและครอบครัว มีทั้งหมด 6 แบบ ดังนี้ 

  • ลดหย่อนภาษีส่วนตัว สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 60,000 บาท ทันที โดยไม่มีเงื่อนไข
  • ลดหย่อนภาษีคู่สมรส สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขคู่สมรสจะต้องจดใบทะเบียนสมรสอย่างเป็นทางการ และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ ว่าจ้างใด ๆ 
  • ลดหย่อนภาษีบุตร สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขที่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 20 ปี และ 25 ปี ในขณะในอยู่ระบบการศึกษา
    • กรณีมีบุตรคนที่ 2 และเกิดปี 2561 ขึ้นไป สามารถลดหย่อนสูงสุด 60,000 บาท/คน
  • ลดหย่อนภาษีบิดามารดา สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท/คน โดยมีเงื่อนไขที่ทั้งคู่ต้องอายุ 60 ปีเป็นต้นไป และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ไม่สามารถใช้สิทธิ์ซ้อนร่วมกันกับพี่น้องได้ 
  • ลดหย่อนภาษีผู้พิการ สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขที่ผู้ดูแลจะต้องมีชื่อในบัตรคนพิการ
  • ลดหย่อนภาษีฝากครรภ์และทำคลอด สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 60,000 บาท ครอบคลุมค่าใช้จ่ายตั้งแต่ ค่าฝากครรภ์, ค่าทำคลอด, ค่ายาและเวชภัณฑ์, รวมไปถึงค่าอาหารในโรงพยาบาล

 

ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน
 

 

รายการลดหย่อนภาษี 2566 หมวดเบี้ยประกัน มีทั้งหมด 6 แบบ ดังนี้ 

  • ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ครอบคลุมการคุ้มครองตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป โดยเบี้ยประกันนี้สามารถใช้ร่วมกันกับประกันแบบสะสมทรัพย์ได้
  • ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท ครอบคลุมเบี้ยประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ โดยมีเงื่อนไขการใช้ลดหย่อนภาษี คือหากใช้ร่วมกับเบี้ยประกันชีวิตจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา สามารถลดหย่อนสูงสุด 15,000 บาท ครอบคลุมสิทธิการใช้ลดหย่อนถึงบิดามารดาของฝั่งคู่สมรส โดยมีเงื่อนไขที่ทั้งคู่ไม่มีรายได้ 
  • ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยมีเงื่อนไขที่ไม่เกิน 15% ของรายได้สุทธิต่อปี ดังนี้
    • บุคคลที่มีรายได้รวมต่อปี ไม่เกิน 200,000 บาท
    • บุคคลที่มีรายได้รวมต่อปี ไม่เกิน 300,000 บาท ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิต
    • บุคคลที่มีรายได้รวมต่อปี ไม่เกิน 500,000 บาท ในกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตและการลงทุนเพื่อการเกษียณ

 

ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน

 

 

รายการลดหย่อนภาษี 2566 หมวดกองทุน มีทั้งหมด 5 แบบ ดังนี้ 

  • ลดหย่อนภาษีกองทุนประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 7,200 บาท 
  • ลดหย่อนภาษีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF) สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวม/ปี และไม่เกิน 500,000 บาท ในกรณีรวมลดหย่อนภาษีกองทุนเกษียณอื่น ๆ 
  • ลดหย่อนภาษีกองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวม/ปี แต่กรณีที่รวมลดหย่อนภาษีกองทุนเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีกองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Funds : SSF) สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวม/ปี และไม่เกิน 200,000 บาท แต่กรณีที่รวมลดหย่อนภาษีกองทุนเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถลดหย่อนสูงสุด 13,200 บาท/ปี แต่กรณีที่รวมลดหย่อนภาษีกองทุนเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

 

ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

 

 

รายการลดหย่อนภาษี 2566 หมวดเงินบริจาค มีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้ 

  • ลดหย่อนภาษีบริจาคทั่วไป สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังจากที่หักค่าลดหย่อนไปแล้ว
  • ลดหย่อนภาษีเงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐบาล สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าตามยอดบริจาคส่วนตัวจริง แต่ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังจากที่หักค่าลดหย่อนไปแล้ว
  • ลดหย่อนภาษีเงินบริจาคพรรคการเมือง สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 10,000 บาท
     

ลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ

 

 

รายการลดหย่อนภาษี 2566 หมวดมาตรการรัฐ มีดังนี้ 

  • ลดหย่อนภาษี ดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไข บังคับใช้1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ดังนี้
    • การดำเนินใช้สิทธิลดหย่อนภาษี บ้าน ไม่ต้องเตรียมเอกสารในกรณีที่สัญญากู้ยืมเงินทำสัญญากู้เงิน
    • ผู้กู้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ทำสัญญากู้ยืมเงิน, ซื้อ, เช่า, สร้างที่อยู่อาศัย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีได้
    • ผู้กู้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหนังสือรับรองจากผู้ให้กู้ยืม (ธนาคาร)

 

ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย สามารถลดหย่อนภาษีได้

 

ใครที่กำลังจ่ายค่าดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในรูปแบบบ้านเดี่ยว คอนโด และลักษณะบ้านอื่น ๆ สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายกับธนาคารยื่นเป็นรายการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท/ปี โดยเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี บ้าน สามารถใช้ได้ในกรณีซื้อสิ่งปลูกสร้างสำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น ไม่สามารถใช้ลดหย่อนเพื่อจุดประสงค์อื่นได้ 

4 สิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อเตรียมลดหย่อนภาษี 

 

เตรียมลดหย่อนภาษี 2566 แต่ละหมวด สามารถทำอะไรได้บ้าง มีให้เลือกดูดังต่อไปนี้ 

1.ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ

  • เช็กงบประมาณ ตั้งแต่ ดูเบี้ยประกันปีแรก, เบี้ยประกันต่ออายุ, และเบี้ยชำระรายปี
  • รายละเอียดการคุ้มครองสุขภาพ โดยดูตั้งแต่
    • ความมั่นคงของบริษัทที่ทำสัญญา
    • ประเภทประกันสุขภาพ เช่น 
      • ประกันสุขภาพจ่ายแบบตามตาราง คือจ่ายตามสัญญาประกันภัยที่กำหนดไว้ 
      • ประกันสุขภาพจ่ายแบบเหมาตามราคาจริง มีขอบเขตวงเงินตั้งแต่ ค่าห้องพยาบาล และวงเงินค่ารักษาต่อครั้ง 
      • ประกันสุขภาพแบบจ่ายรวม โดยแบ่งจ่ายตามสัดส่วนที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น จ่ายแบบ 30:70 เป็นต้น
    • ความคุ้มครองของประกัน 
      • ผู้ป่วยใน ครอบคลุมการรักษาตั้งแต่ ค่าผ่าตัด ค่ารักษา ค่ารักษาฉุกเฉิน ค่าห้อง 
      • ผู้ป่วยนอก ครอบคลุมจำนวนการใช้บริการรักษาต่อครั้ง 
      • ค่าทดแทน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติการเบิกสินไหมค่ารักษาพยาบาลจากกรมธรรม์ จะได้รับค่าชดเชยการนอนโรงพยาบาลตามสัญญาประกันภัย 

 

2. ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

  • หมวดรายได้ที่อยู่ในข้อกำหนดของการลงทุน มีตั้งแต่
    • รายได้จากการจ้างแรงงาน เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง บำเหน็จ บำนาญ เป็นต้น
    • รายได้จากค่าลิขสิทธิ์
    • รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ด้านกฎหมาย ศิลปกรรม และการแพทย์ เป็นต้น
    • เงินจากการรับโอนทางมรดก
    • รายได้จากธุรกิจการพาณิชย์ เช่น อุตสาหกรรม, การขนส่ง, และการเกษตร 
  • เงื่อนไขการลงทุนเพื่อกองรวมการเลี้ยงชีพ มีดังนี้
    • ผู้เริ่มลงทุนต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องซื้อหน่วยลงทุน ขั้นต่ำ 1 ครั้งต่อปี
    • ผู้ลงทุนต้องลงทุนขั้นต่ำ 5% ต่อปี หรือ 5,000 บาท
    • ผู้ลงทุนต้องไม่ระงับซื้อหน่วยลงทุนเกิน 1 ปีติดต่อกัน 
    • กรณีขายคืนหน่วยทุน สามารถทำได้โดยผู้ขายต้องอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และมีประวัติการลงทุนมาแล้ว 5 ปี โดยนับตั้งแต่ซื้อทุนครั้งแรก หากพบว่าปีใดไม่มีการลงทุนจะไม่นับประวัติด้วย

 

3. ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม

  • เงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวม สามารถลงทุนประเภทหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท 
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ ต้องเสียภาษีไม่เกิน 200,000 บาท
    • กรณีรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงื่อนไขการลงทุน ไม่จำกัดการซื้อ และไม่ต้องซื้อทุก ๆ ปี 
  • ระยะเวลาการครอบครอง ต้องถือไม่ต่ำกว่า 10 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ซื้อ 

 

4. ซื้อบ้านและคอนโด

  • การเลือกซื้อสิ่งปลูกสร้าง โดยดูตั้งแต่ ตำแหน่งที่อยู่, ทำเลรอบ ๆ พื้นที่, โครงการลงทุนอสังหา, ไลฟ์สไตล์ในโครงการ 
  • รายละเอียดการจองและการทำสัญญา อาทิ สัญญาจะซื้อและจะขาย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นต้น 
  • ขั้นตอนการกู้ซื้อสินเชื่อ ผู้จะซื้อเตรียมความพร้อมทางด้านเอกสาร การเงินให้เรียบร้อย เพราะขั้นตอนนี้ผู้จะซื้อจะกลายเป็นลูกหนี้ที่ต้องจ่ายงวดผ่อนชำระบ้านจนหมด 
  • การโอนกรรมสิทธิ์ ตกลงแบ่งค่าใช้จ่ายกับผู้จะขายให้เรียบร้อย ตั้งแต่ ค่าธรรมเนียม ค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น  

 

ตรวจสอบข้อมูลการลดหย่อนภาษี 2566

 

 

การลดหย่อนภาษี 2566 ผู้ที่ต้องการยื่นลดหย่อนภาษี สามารถดำเนินเอกสารผ่านเว็บไซต์ กรมสรรพากร (The Revenue Department) โดยรายการลดหย่อนภาษีทั้งหมด จะมีอยู่ 9 รายการ ดังนี้

  1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
  2. ลดหย่อนภาษีกองทุนประกันสังคม
  3. ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป
  4. ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพ
  5. ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาคผ่าน e-Donation
  6. ลดหย่อนภาษีกองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)
  7. ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  8. ลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยบ้าน
  9. ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน

 

ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษี

  1. เข้าเว็บไซต์ กรมสรรพากร
  2. คลิก My Tax Account (ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี)
  3. เข้าระบบ My Tax Account ด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ชื่อผู้ใช้งาน e-filing และรหัสผ่าน เพื่อเข้าสู่ระบบ
  4. เลือกรายการที่สนใจอยากลดหย่อนภาษี

 

สรุปการลดหย่อนภาษี 2566

 

จะเห็นได้ว่าการดำเนินการลดหย่อนคืนภาษี 2566 มีการครอบคลุมค่าใช้จ่ายภาษีที่มากขึ้น และสามารถดำเนินการยื่นเอกสาร ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91  ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรได้เลยทันที ไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการด้วยตัวเองให้เสียเวลาอีกต่อไป

The Best Property สามารถติดต่อเราได้ที่