ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้ไหม ทำยังไง ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางในปัจจุบัน มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร สามารถดำเนินเรื่องผ่านช่องทางออนไลน์ได้หรือไม่ และในกรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถมายื่นเรื่องได้ คนดำเนินเรื่องควรเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
ทาง The Best Property จึงจะมาสรุปเรื่องการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางทั้งหมดตั้งแต่ เอกสาร วิธีการ รวมไปถึงบุคคลพิเศษที่ต้องเตรียมหลักฐานในการยืนยันเรื่องย้ายปลายทางเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ได้ในบทความนี้
ประโยชน์ของการย้ายทะเบียนปลายทาง
ประโยชน์ของการโอนย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง มีข้อดีดังนี้
- ย้ายทะเบียนปลายทาง สามารถเป็นหลักฐานยืนยันตัวตนในการดำเนินอนุมัติสินเชื่อเพื่อขอกู้เงินได้
- การย้ายที่อยู่ปลายทางเป็นใบหลักฐานประกอบสำหรับการยื่นเปลี่ยนชื่อใหม่
- การย้ายเข้าทะเบียนบ้านปลายทาง ช่วยระบุตัวตนในการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ทะเบียนบ้านและเจ้าบ้านคืออะไรตามนิยามของกรมการปกครอง
ก่อนจะทราบเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ควรจะรู้จักนิยามของทะเบียนบ้าน และเจ้าบ้านก่อน โดยรายละเอียดของข้อมูลดังกล่าว มีดังนี้
นิยามของใบทะเบียนบ้าน
ทะเบียนบ้าน คือ แบบฟอร์มรวมเอกสารของตัวบ้าน โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสประจำตัวบ้าน สมาชิกผู้อยู่อาศัย และชื่อเจ้าของทะเบียนบ้าน โดยชื่อผู้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของบ้าน จะมีในนามได้แค่ 1 คนเท่านั้น
เจ้าบ้านและสิทธิประโยชน์ของเจ้าบ้าน
เจ้าบ้าน คือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของพื้นที่โฉนดที่ดินหรือแค่ตัวบ้าน เป็นผู้มีสิทธิ์ทำเรื่องปลูกบ้าน รื้อบ้านใหม่ จัดจำหน่าย และการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
นอกจากนี้ เจ้าบ้านมีหน้าที่ชี้แจงกิจกรรมเกี่ยวกับตัวบ้านกับเจ้าหน้าที่ทะเบียน ในเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
- มีบุตรเกิดในบ้าน
- มีบุคคลภายในบ้านเสียชีวิต
- มีบุคคลย้ายเข้า-ออก ภายในบ้าน
- ทำเรื่องขอย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ขอเลขที่บ้าน ขอรื้อบ้าน และปลูกบ้านสร้างใหม่
- เมื่อเจ้าบ้านย้ายชื่อตนเองเข้ามาในทะเบียนบ้านครบ 1 ปี เจ้าบ้านจะได้รับยกเว้นค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตรา 3.3% ของราคาขายทันที
แล้วการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คืออะไร? การแจ้งย้ายปลายทางทะเบียนบ้านในนิยามของกรมการปกครอง คือ ใบเอกสารแสดงจำนวนสมาชิกแต่ละบ้านต่อหนึ่งหลัง มีจำนวนสอดคล้องกับตารางพื้นที่ของที่อยู่อาศัย 1 คน/3 ตร.ม. โดยเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งผู้ทำเรื่องแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านปลายทาง เจ้าบ้านจะมีสิทธิ์ทำเรื่องได้เพียงผู้เดียว
การย้ายเข้า-ออกทะเบียนบ้าน
วิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางใช้เอกสารอะไรบ้าง? และการย้ายเข้า-ออกทะเบียนบ้าน ต้องจัดเตรียมหลักฐานใด? ในส่วนของพาร์ทนี้ จะเป็นขั้นตอนการย้ายชื่อทะเบียนบ้านปลายทางออกจากบ้านหลังเดิมและเข้าบ้านหลังใหม่
ย้ายทะเบียนบ้านเพื่อออกจากบ้านหลังเดิม
การทําเรื่องย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เจ้าบ้านหรือผู้ร่วมอาศัยที่ต้องการโอนชื่อออก จะต้องดำเนินเรื่องชี้แจงให้กับเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน หลังจากย้ายออกจากบ้านเรียบร้อย หากละเลยกฎ จะถูกโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารสำหรับการย้ายออก
เอกสารย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ในขั้นตอนการย้ายออกจากบ้านหลังเดิม มีดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ของเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ของเจ้าบ้าน)
- หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบอำนาจ)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้าย (กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ด้วยตนเอง)
ขั้นตอนการย้ายออกจากบ้านหลังเดิม
ขั้นตอนย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออกจากบ้านหลังเดิม มีขั้นตอนดังนี้
- เจ้าบ้านหรือผู้ร่วมอาศัย ยื่นชุดใบเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่ทะเบียนของเขตบ้านเดิม
- รอเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้าน ตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เพื่อยืนยันหลักฐานการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางให้ถูกต้อง
- เมื่อได้รับยืนยันการแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านปลายทางหลังเดิมเสร็จสมบูรณ์ ทางเจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมเอกสารในการแจ้งย้ายในขั้นตอนถัดไป
ย้ายทะเบียนบ้านเพื่อเข้าอยู่บ้านหลังใหม่
การขอย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อเข้าอยู่บ้านหลังใหม่ เจ้าบ้านหรือผู้ร่วมอาศัยที่ต้องการโอน ต้องดำเนินเรื่องชี้แจงให้กับเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน หลังจากย้ายเข้าบ้านใหม่ หากละเลยกฎ จะถูกโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
เอกสารสำหรับการย้ายเข้า
เอกสารการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่ออยู่บ้านหลังใหม่ มีดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ของเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ของเจ้าบ้าน)
- หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบอำนาจ)
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
ขั้นตอนการย้ายเข้าอยู่บ้านหลังใหม่
ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางเพื่อเข้าอยู่บ้านหลังใหม่ มี 3 ขั้นตอนดังนี้
- เจ้าบ้านหรือผู้ร่วมอาศัย ยื่นชุดใบเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่ในเขตเดียวกับบ้านใหม่ต้องการย้ายเข้า
- รอเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้าน ตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เพื่อยืนยันหลักฐานการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางให้ถูกต้อง
- เมื่อได้รับยืนยันการแจ้งย้ายเข้าจากทะเบียนบ้านปลายทางหลังใหม่เสร็จสมบูรณ์ ทางเจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมเอกสารเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ของเจ้าบ้าน) ใหม่ลงระบบ
เอกสารหลักฐานสำหรับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือ ผู้ที่มีแหล่งอยู่อาศัยในภูมิลำเนาใหม่ แต่ต้องการทำเรื่องแจ้งโอนย้ายทะเบียนบ้านปลายทางในที่อยู่เก่ามาอยู่ในบ้านหลังปัจจุบัน สามารถดำเนินเรื่องกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนในเขตที่จะย้ายในปัจจุบันได้เลยทันที
โดยเอกสารการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านปลายทางมีดังนี้ ได้แก่
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ของเจ้าบ้าน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ของเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ของเจ้าบ้าน)
- หนังสือมอบอำนาจเจ้าของบ้าน (สำหรับผู้แจ้งย้ายที่ไม่ใช่เจ้าบ้านหรือกรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถมายืนยันได้ตัวเอง)
- หนังสือมอบอำนาจของผู้ย้ายที่อยู่ (ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเจ้าบ้าน ไม่ว่าจะเป็นคู่สมรส ญาติ คนรู้จัก เป็นต้น)
กรณีเพิ่มเติมสำหรับการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
กรณีย้ายทะเบียนบ้านปลายทางกับเจ้าหน้าที่บางแห่ง สามารถมอบหมายให้เจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารปลายทางได้โดยไม่ต้องยื่นขอทะเบียนบ้านฉบับเก่าเลย หรือในกรณีผู้เยาว์ต้องการย้ายออก มีความจำเป็นต้องเตรียมเอกสารย้ายสำเนาทะเบียนบ้านปลายทางฉบับพิเศษดังต่อไปนี้
กรณีมอบอำนาจให้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางแทน
ผู้ทำเรื่อง สามารถดำเนินขั้นตอนโอนเข้าทะเบียนบ้านปลายทางกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านในภูมิลำเนาใหม่ได้เลย โดยเอกสารในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง มีดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ของเจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ของเจ้าบ้าน)
- หนังสือมอบอำนาจเจ้าของบ้าน (สำหรับผู้แจ้งย้ายที่ไม่ใช่เจ้าบ้าน)
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้อยู่อาศัย (สำหรับผู้ร่วมอาศัยต้องการย้ายที่อยู่ด้วยตนเอง)
- ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทาง ฉบับ ท . ร . 6 ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านต้องเซ็นยินยอมลงนามก่อนให้เจ้าหน้าที่ตรวจ
กรณีผู้เยาว์ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
สำหรับผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ สามารถทำเรื่องย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านปลายทางไปอยู่ที่ภูมิลำเนาใหม่ จะต้องนำมารดามาดำเนินการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมอบอำนาจ ดังนี้
- ใบสูติบัตรของบุตรฉบับจริง และฉบับสำเนาอย่างละ 1 ชุด
- บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาฉบับจริง พร้อมใบสำเนาอย่างละ 1 ชุด
- ใบทะเบียนสมรส , ใบทะเบียนการรับรองบุตร หรือใบทะเบียนการหย่าที่ระบุเป็น บิดาคือผู้มีอำนาจปกครองบุตรฉบับจริง และใบสำเนา 1 ชุด
- เจ้าบ้านหลังที่จะแจ้งย้ายเข้า มาให้ความยินยอมให้ย้ายเข้า พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง และฉบับสำเนา 1 ชุด
วิธีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง
วิธีย้ายทะเบียนบ้านปลายทางในปัจจุบัน สามารถดำเนินการทำง่ายๆ โดยมีเพียง 2 ขั้นตอนดังนี้
รวบรวมเอกสารหลักฐาน
การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เอกสารหลักๆ ที่ต้องเตรียมจะเป็นใบสำเนาทะเบียนบ้านในนามเจ้าบ้าน, บัตรประชาชน, และหนังสือมอบอำนาจเจ้าของบ้าน เพื่อนำไปยื่นดำเนินกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนบ้านให้เรียบร้อย
แต่หากต้องการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ไปบ้านใหม่ สามารถระบุรายละเอียดบุคคลในบ้าน ดังนี้
- ชื่อ-นามสกุล
- ชื่อของบิดามารดา
- เลขประจำตัวประชาชน
- เอกสารภูมิลำเนาเดิม
โดยการแจ้งออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องทะเบียนราษฎร นอกจากจะสามารถแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางออนไลน์ ยังสามารถยื่นเรื่องในกรณีที่บุคคลในบ้าน มีบุตรเกิดใหม่ เสียชีวิต ย้ายที่อยู่ จนไปถึงขอเลขที่ทะเบียนบ้าน และรื้อถอนบ้านใหม่ได้ด้วย
นำส่งมอบเอกสารหลักฐานให้กับนายทะเบียน
ในกรณีต้องการยื่นเรื่องกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนแบบตัวต่อตัว ในพื้นที่กรุงเทพฯ ผู้ทำเรื่องสามารถจัดเตรียมเอกสารได้ในสำนักงานเขตของเขตนั้นๆ ที่เป็นเขตที่ตั้งบ้านได้ แต่หากอยู่ต่างจังหวัด สามารถยื่นเรื่องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านปลายทางผ่านว่าที่อำเภอ ตามชื่อที่อยู่ประจำบ้านได้เลย
สรุป
การแจ้งเข้าทะเบียนบ้านปลายทางบ้านเก่าหรือบ้านใหม่ จะเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่เตรียมเอกสารตามที่กำหนดแล้วทำการยื่นกับเจ้าหน้าที่ประจำเขต/อำเภอในภูมิลำเนาใหม่ ก็สามารถดำเนินขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้เสร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาสั้นๆ
The Best Property ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ท่านเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา หวังว่าทุกท่านจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากบทความของเรานะคะ