บทความความรู้เรื่องบ้าน รีโนเวทบ้านเก่าให้สวยเหมือนใหม่ ทำอย่างไร รวมรีวิวการปรับปรุงบ้าน
บทความ
บทความความรู้เรื่องบ้าน

รีโนเวทบ้านเก่าให้สวยเหมือนใหม่ ทำอย่างไร รวมรีวิวการปรับปรุงบ้าน

30 พฤศจิกายน 2565

 

รีโนเวทบ้าน


บ้าน คือสถานที่พักอาศัยซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 สำหรับการดำรงชีวิต แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากให้บ้านดูสวย ดูใหม่ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี และ รู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน แต่พออยู่ไปนานหลายปี สภาพบ้านก็ต้องเสื่อมสภาพเป็นเรื่องธรรมดา ครั้นจะซื้อบ้านใหม่ก็มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ในปัจจุบัน หนึ่งในวิธีที่จะทำให้บ้านดูใหม่ก็คือการรีโนเวทบ้าน การรีโนเวทบ้านคือการปรับปรุงบ้านให้เป็นบ้านใหม่โดยไม่ต้องซื้อบ้านใหม่ เรียกได้ว่าเปลี่ยนบ้านที่ดูเก่า เป็นบ้านใหม่ได้ภายในไม่กี่วัน อย่างที่ได้เห็นในภาพก็น่าจะพอเห็นภาพแล้วว่าการรีโนเวทบ้านนั้นเป็นอย่างไร

Before

บริเวณหน้าบ้านก่อนรีโนเวทบ้าน

After

บริเวณหน้าบ้านหลังรีโนเวทบ้าน

รีวิวตัวอย่างการรีโนเวทบ้าน

Before

บริเวณโถงชั้นล่าง

After

บริเวณโถงชั้นล่างปรับปรุงพื้น

Before

บริเวณโถงบ้านก่อนรีโนเวทบ้าน

After

บริเวณโถงบ้าน ปรับปรุงพื้น

บริเวณโถงก่อนเข้าห้องครัวหลังรีโนเวท

1.กำหนดวัตถุประสงค์ของการรีโนเวท

ก่อนจะเริ่มการรีโนเวท จำเป็นต้องวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของการรีโนเวทก่อน ว่าจะรีโนเวทเพื่ออะไร และจะรีโนเวทแบบไหน เช่น อยากตกแต่งบ้านเก่าให้สวยหรืออยากปรับปรุงบ้านให้น่าอยู่ เพื่อให้การรีโนเวทเป็นไปตามเป้าหมายและประหยัดค่าใช้จ่าย โดยหลักๆ จะแบ่งประเภทการรีโนเวทบ้านได้ดังนี้

ปรับปรุงบ้านทั้งหลัง

หากสภาพบ้านมีความเสียหายหรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานต่อได้ ควรปรับปรุงและซ่อมบ้านทั้งหลังเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติเหมือนเดิม

ปรับปรุงบ้านบางส่วน

บางห้องอาจจะดูเสื่อมสภาพหรือไม่น่าดู โดยเฉพาะห้องน้ำ ยิ่งมีความเก่าและสกปรกก็จะยิ่งไม่น่าใช้ หรือดาดฟ้ารั่ว การปรับปรุงบางส่วนเฉพาะจุดก็เป็นวิธีที่ดี

จัดแบ่งพื้นที่ใหม่

บางห้องอาจจะไม่ได้ใช้งานก็สามารถทุบทิ้งเพื่อเพิ่มพื้นที่หรืออาจจะแบ่งพื้นที่ใหม่เพื่อให้สะดวกสบายมากขึ้น เช่น ห้องน้ำมีขนาดเล็กเกินไปแต่มีห้องว่างที่ไม่ได้ใช้งาน ก็สามารถยุบรวมกันและปรับปรุงห้องน้ำให้ใหญ่มากขึ้นได้

ปรับโฉมบ้านให้สวยงาม

บางห้องอาจจะดูเก่าหรือไม่เหมาะกับการใช้งานในปัจจุบัน ก็สามารถปรับโฉมบ้านให้ดูทันสมัยและมีความสวยงามมากยิ่งขึ้นได้

Before

บริเวณบันไดชั้นสองก่อนรีโนเวท

After

บริเวณบันไดชั้นสองหลังรีโนเวท

2.รวบรวมข้อมูลและเลือกรูปแบบที่ต้องการรีโนเวทบ้าน

หลังจากกำหนดได้แล้วว่าจะรีโนเวทบ้านแบบไหนและระดับไหน ถัดมาก็คือรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการรีโนเวทบ้าน เช่น วัสดุที่ใช้ สเปคต่างๆ แบบบ้านสวยๆ จากอินเทอร์เน็ตหรือสามารถปรึกษาสถาปนิกซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและรีโนเวทบ้านก็ได้

3.ตรวจสอบสภาพจริงของบ้านและกำหนดแนวทางในการปรับปรุง

ก่อนจะเริ่มรีโนเวทบ้าน ควรเช็กให้ดีก่อนว่ามีส่วนไหนของบ้านยังใช้งานได้ดีหรือไม่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น และส่วนใดที่เสียหาย นอกจากนี้ควรทำเช็กลิสต์สำหรับโซนต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อดูว่าในแต่ละโซนนั้นจะปรับปรุงอะไรบ้าง เช่น โครงสร้าง การตกแต่ง ระบบไฟฟ้า ระบบประปา

ทั้งนี้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทั้งวิศวกรและสถาปนิก เพื่อให้การรีโนเวทบ้านนั้นเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาภายหลัง

Before

ห้องนอนชั้นบนก่อนปรับปรุงบ้าน

After

ห้องนอนชั้นบนหลังปรับปรุงบ้าน

Before

ห้องนอนชั้นบนก่อนแต่งบ้าน

After

ห้องนอนชั้นบนหลังแต่งบ้าน

4.สรุปสิ่งที่ต้องการปรับปรุงและเนื้องานที่ต้องการจะทำ

หลังจากทำเช็กลิสต์แล้วก็สรุปเนื้องานว่าจะรีโนเวทส่วนใดบ้าง วิธีนี้ควรตรวจสอบให้แน่ชัด เนื่องจากขั้นตอนต่อไปจะเริ่มเตรียมงบประมาณในการรีโนเวทบ้าน หากยังกำหนดทิศทางและเป้าหมายไม่ชัดเจน อาจทำให้มีปัญหาระหว่างการรีโนเวทได้

5.เตรียมงบประมาณในการรีโนเวทบ้านให้เหมาะสม

ค่าออกแบบ

หรือค่าจ้างวิศวกร สถาปนิก และผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและรีโนเวทบ้าน รวมไปถึงงานระบบไฟฟ้าและประปา

ค่าปรับปรุง

ค่าใช้จ่ายวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการรีโนเวทบ้าน รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการรีโนเวทบ้าน และค่าดำเนินการปรับปรุง

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าปรึกษาวิศวกร ค่าปรึกษาสถาปนิกเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ค่าเช่าที่เก็บอุปกรณ์และวัสดุในการรีโนเวทบ้าน และค่าดำเนินการขอปรับปรุงกับหน่วยงานราชการ (กรณีที่จำเป็น)

6.เลือกวิธีการรีโนเวทบ้าน

การรีโนเวทบ้าน โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งได้ 2 วิธีได้แก่

Design-Bid-Build

ผู้ออกแบบกับผู้รับเหมาแยกกัน ทำให้เจ้าของบ้านตรวจสอบและปรับปรุงแบบได้ตรงตามความต้องการมากกว่า เพราะสถาปนิกจะเป็นผู้ร่วมออกแบบกับเจ้าของบ้าน กำหนดแบบและจัดงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างก่อนส่งงานให้กับผู้รับเหมาต่อไป

Design & Build

ว่าจ้างผู้ออกแบบกับผู้รับเหมารายเดียวกัน วิธีนี้จะค่อนข้างสะดวกต่อเจ้าของบ้าน เนื่องจากมอบหมายหน้าที่ทุกอย่างให้กับผู้ออกแบบและผู้รับเหมา วิธีนี้จะเรียกว่า “Turn Key” มีข้อดีคือประหยัดเวลาและควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อเสียคือ เจ้าของบ้านจะไม่สามารถประสานงานกับผู้ออกแบบและผู้รับเหมาได้ หากเกิดปัญหาก็จะไม่สามารถแก้ไขได้ตรงจุดเหมือนกับการที่เราแจ้งผู้รับเหมาเอง

Before

บริเวณห้องครัวก่อนการรีโนเวท 1

บริเวณห้องครัวก่อนการรีโนเวท 2

บริเวณห้องครัวก่อนการรีโนเวท 3

After

ห้องครัวหลังการรีโนเวท

ห้องซักล้างหลังการรีโนเวท

สรุป

การรีโนเวทบ้านคือการชุบชีวิตให้บ้าน สภาพบ้านที่เก่า เสื่อมโทรม และชำรุดก็ควรจะรีโนเวทบ้าน เพื่อให้ใช้งานต่อได้อีกนานโดยไม่จำเป็นต้องซื้อบ้านใหม่ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลามากกว่า

ก่อนจะเริ่มการรีโนเวทบ้าน ควรวางแผนก่อน เพื่อให้บ้านดูสวยงามและตรงกับความต้องการของเจ้าของบ้าน 

สรุปขั้นตอนในการรีโนเวทบ้าน 

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการรีโนเวท 
  2. รวบรวมข้อมูลและเลือกรูปแบบที่ต้องการรีโนเวทบ้าน 
  3. ตรวจสอบสภาพจริงของบ้านและกำหนดแนวทางในการปรับปรุง 
  4. สรุปสิ่งที่ต้องการปรับปรุงและเนื้องานที่ต้องการจะทำ 
  5. เตรียมงบประมาณในการรีโนเวทบ้านให้เหมาะสม 
  6. เลือกวิธีการรีโนเวทบ้าน

เพียงเท่านี้บ้านของคุณก็จะกลับมาดูสวยงามเหมือนใหม่ โดยไม่ต้องลงทุนมากและยังประหยัดเวลาอีกด้วย

ในเว็บไซต์นายหน้าซื้อขายบ้าน The Best Property ยังมีบทความอื่นๆ เกี่ยวกับบ้านที่น่าสนใจ ทั้งความรู้เกี่ยวกับการซื้อบ้าน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การกู้ซื้อบ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ สาระน่ารู้รวมเรื่องบ้าน